การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google Sketchup สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง

Main Article Content

ปัญญาพร เอ่งฉ้วน
กุสุมา ใจสบาย
สมพร เรืองอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ กับกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Google SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Google SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.67/92.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่จัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 27.60 คิดเป็นร้อยละ 92.0 ของคะแนนเต็ม ซึ่งมากกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มปกติที่มีค่าเฉลี่ย 22.37 คิดเป็นร้อยละ 74.57 ของคะแนนเต็ม แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจและมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากการเรียนแบบปกติ
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 27.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.48 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 92.00
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบออนไลน์ เรื่องการใช้งานโปรแกรม Google SketchUp สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunmon, S. (2006). Comparison of learning outcomes and critical thinking from learning, occupational and technology learning subjects between web-based computer learning methods and conventional learning methods. [Master's Thesis]. Mahasarakham University.

Kaewurai, R. (2015). Principles of computer-assisted instruction design principles based on the concept of Gaye, Department of Educational Technology and Communication. Faculty of Education Naresuan University. Retrieved July 12th 2019 from https://www.bus.rmutt.ac.th/~boons/cai/gange.htm

Kongkrathok, S. (2006). Developing lessons on the network about internet network information technology subject 2 group learning about occupation and technology. [Master's Thesis]. Mahasarakham University.

Ministry of Education. (2013). The basic education core curriculum, B.E. 2551. (A.D.2008). The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Nuaklongprachabumrung School. (2018). Curriculum Nuaklongprachabumrung School. Nuaklongprachabumrung School.

Nuaklongprachabumrung School. (2019). Self Assessment Report B.E.2562. (A.D.2019). Nuaklongprachabumrung School.

Panich, V. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. Sodsri Foundation.

Prasitthirat, O. (2009). Computers for teaching and learning. (2nd ed.). Faculty of Education Srinakharinwirot University.

Ruangsuwan, C.(2002).Educational technology : Lesson Design and Development computer. Mahasarakham University.

Sanguanrum, R (2007). Development of computer-assisted instruction Science Learning Subject Group on Force and Motion Grade 5. [Master's Thesis] Buriram Rajabhat University.

Sornsara, S. (2015). Computer assisted instruction (CAI). Retrieved August 10th 2019 from https://www.gotoknow.org/posts/442153.

Theanthong, M. (2001). WBI (Web-Based Instruction). Journal of Technical Education Development, 13(37), 72-78.

Yodyeamkra, K. (n.d.). Teaching material on creating CAI computer-aided tutorials. Chandrakasem Rajabhat University.