การกระจุกตัวด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกระจุกตัวและสภาพการแข่งขันของสินเชื่อ และศึกษาความสอดคล้องของดัชนีที่จะนำมาใช้ในการวัดสภาพการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากรายงานประจำปีของแต่ละธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 - 2562 จำนวน 11 แห่ง ทำการวิเคราะห์การกระจุกตัวของสินเชื่อของธนาคารธนาคารพาณิชย์ โดยวิธีการวัดอัตราการกระจุกตัว (Concentration Ratio : CR), ดัชนีเฮอร์ฟินดัล – เฮิร์ชแมน (Herfindahl-Hirschman Index : HHI) และการวัดด้วยดัชนี Comprehensive Concentration Index (CCI) ใช้ข้อมูลสินเชื่อรวมสุทธิ และสินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกิจ แบ่งเป็น การเกษตรและเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการผลิตและการพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง การสาธารณูปโภคและบริการ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยศึกษาความสอดคล้องของดัชนีที่จะนำมาใช้ในการวัดสภาพการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า สินเชื่อรวมสุทธิ และสินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกิจ 5 ประเภท จากวิธี Concentration Ratio (CR), Herfindahl-Hirschman Index (HHI) และ Comprehensive Concentration Index (CCI) โดยรวมมีการกระจุกตัวปานกลาง มีโครงสร้างตลาดเป็นตลาดแบบผู้ขายน้อยราย และความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีทุกตัวมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกค่อนข้างสูงอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01โดยสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง สินเชื่อการสาธารณูปโภคและบริการ และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีเกณฑ์การวัดผลของแต่ละดัชนีสอดคล้องกัน จึงทำให้ดัชนีแต่ละดัชนีสามารถใช้แทนกันได้ แต่สินเชื่ออีก 3 ประเภทมีเกณฑ์การวัดผลของแต่ละดัชนีไม่สอดคล้องกัน จึงทำให้ดัชนีแต่ละดัชนีไม่สามารถใช้แทนกันได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Auipaiboonsawat, S. (2010). Microeconomics1. Ramkhamhaeng University Press.
Chaisongkram, K., Wongkhrua, C., Ariya, A., Kamrach, C. & Yongpaknam, P. (2020). The Analysis of the Relationship Between Financial Factors and Industrial Concentration of Commercial Banks in Thailand. Journal of Accountancy and Management, Mahasarakham Business School, Mahasarakham University, 12(2), 54-70.
Fiscal Policy Office. (2010). Regulatory Policy for Competition Development in Thailand Financial Business. Fiscal Policy Office.
J.A. Bikker & K. Haaf. (2000). Measures of competition and concentration in the banking Industry: a review of the literature. journal of the European Economics and Financial, 9(2), 53-98.
Rimwittayakorn, W. (2015). Microeconomics Theory. Faculty of Economics Ramkhamhaeng University.
Saikhanit, R. (2008). Economics for Management. Faculty of Economics, Chulalongkorn University.
Satyarakit, W. (1999). Industrial Economics: Analytical Instruments. Academic Document Promotion Project, NIDA.
SET. Sector Quotation : BANK. Retrived April 5, 2021, from https://marketdata.set.or.th
Somtha, A. (2010). Market Structure and Factors Related to Loans Granted by Commercial Thai Bank. Srinakharinwirot University.