ธรรมาภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ขวัญณพัทสร ชาญทะเล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพธรรมาภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมการพัฒนาธรรมภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตและ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบธรรมาภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การลดทอนข้อมูล การตรวจสอบ การนำเสนอข้อมูลและข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพธรรมาภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีการนำธรรมาภิบาลมาใช้กำกับดูแลด้านการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม 2) ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมต่อส่งการพัฒนาธรรมภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ ) นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมธรรมาภิบาล 2) การมีส่วนร่วม 3) การรับรู้ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ 4 ) กฎหมายข้อบังคับ 5) สิ่งอำนวยความสะดวก 6) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และ 3) รูปแบบธรรมาภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต โดยใช้ PHUGET Model ประกอบด้วย 6 ด้าน P แทนคำว่า Public participatory หมายถึง การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน H แทนคำว่า Hospitality หมายถึง การปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้ผู้คนให้การต้อนรับต่อแขกอย่างเป็นมิตร U แทนคำว่า Unity หมายถึง การมีเอกภาพในการจัดการการท่องเที่ยว G แทนคำว่า Regulation Guillotine หมายถึง การปรับปรุงกฎระเบียบที่ให้เหมาะและมี “ธรรมนูญของท้องถิ่น” E แทนคำว่า Education หมายถึง การพัฒนาการเรียนรู้และ T แทนคำว่า Technology หมายถึง การใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการเก็บรวบรวมเป็น Big data เพื่อเป็นตัววิเคราะห์ในการวางแผนและตัดสินใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธรรมาภิบาลความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ansell, A. & Gash, A. (2008). Collaborative governance in theory and practice. https://shorturl. asia/UcKem

Appleby, P. (1965). Public administration and democracy; essays in honor. (Appleby, P & Martin, R.C. editor.) Syracuse University Press.

Boonanon, R. et al. (2014). The form of the promoting activities held by Kamphaeng-Phet historical park, World Heritage Site. https://shorturl.asia/UcKem

Creighton, J.L. (2000). The public participation handbook: making better decisions through citizen involvement. King Prajadhipok's Institute and Asia Foundation.

Hiranto, U. (1980). Local administration. Odeon Store.

KPI. (2005). Research report. Expansion project to bring indicators of good governance practice in to Enterprise Level. King Prajadhipok's Institute.

Laothammathat, A. (2009). Transmigration: creating local government as the foundation of democracy. Thammasat University.

Lertpaithoon, S. et al. (2019). A Study in methods for administering and developing Koh Samui. Journal of Humanities and Social Sciences 11(2), 1–56.

MPS, MTS. (2016). Annual report 2016, Ministry of Tourism and Sports. Ministry of Tourism and Sports.

OPSDC. (2011). The problem of budget allocation is inconsistent with the economic growth and income collection of Phuket Province. OPSDC

Rakkwamsuk, E. (2014). Roles of citizens in good governance: the case study of registration of land title deed of Wat Don Sawan (unoccupied). Western University.

Sinaga, I.C. (2021). Collaborative governance in tourism development in Indonesia: study of south sumatera Province. https://shorturl.asia/AHdVb

Tetanang, C. & Suksom, S. (2022) Managerial effectiveness of bangkok mass transit authority (BMTA). Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 5(4), 1-15

Ullah, I & Kim, D.Y. (2019). A Model of Collaborative Governance for Community-based trophy-Hunting programs in developing countries. https://shorturl.asia/hJKA9

WTO and Griffith University. (2017). Managing growth and sustainable tourism governance in Asia and the Pacific. UNWTO publication.