แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับตัวในชีวิตวิถีใหม่ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

กชกร สุขศิริสมบัติ
ยุทธชัย ฮารีบิน
บัญฑิต ไวว่อง
รุ่งนภา อริยะพลปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อการปฏิบัติงานในชีวิตวิถีใหม่ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์การปรับตัวการปฏิบัติงานในชีวิตวิถีใหม่ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานในชีวิตวิถีใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปรับตัวในการปฏิบัติงาน และประสิทธิภาพในการทำงานเป็นกรอบการวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 180 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และใช้แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์เป็นเครื่องมือในการวิจัย และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา T-test, F-test, และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหูคูณ ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงที่สุด และการศึกษาแนวทาง พบว่าควรเพิ่มสิ่งจูงใจต่างๆ เพื่อให้พนักงานมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ข้อค้นพบจากงานวิจัย สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบสำหรับการกำหนด แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ตรงกับความต้องการของโลกปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Acemoglu, D., & Restrepo, P., (2020). Robots and jobs: Evidence from US labor markets. J. Polit. Econ, 128(6), 2188–2244.

Bhaskar, A. U., & Mishra, B. (2017). Exploring relationship between learning organizations dimensions and organizational performance. International Journal of Emerging Markets, 12(3), 593-609. https://doi.org/10.1108/IJoEM-01-2016-0026.

Chedthida, K. & Narit, K. (2019). The Human Resource Development by Monozukuri Towards Thailand 4.0 of SMEs. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 29(4), 686-699.

Christensen, C. M., Michael, R. & Rory M. (2015). What Is Disruptive Innovation?. Harvard Business Review. 93(12). 44–53. D-12-2020-0171

Clayton, S., Devine-Wright, P., Stern, P., Whitmarsh, L., Carrico, A., Steg, L., Swim, J., & Bonnes, M. (2015). Psychological research and global climate change. Nature Climate Change, 5, 640-646.

Harrington, E. (1913). Twelve Principles of Efficiency. The Engineering Magazine.

Makela¨ a, ¨ L., Saarenpa¨¨a, K., & McNulty, Y. (2017). Flexpatriates, short-term assignees and international commuters. In Y. McNulty, & J. Selmer (Eds.), Research handbook of expatriates (pp. 276–295). Edward Elgar Publishing.

McClelland, D., C. (1961). The Achieving Society. D. Van Nostrand Company Ine.

Narumon, S. (2007). Organizational Risk Management. Bangkok: Than Books.

Örtenblad, A. (2018). What does “learning organization” mean?. The Learning Organization, 25(3), 150-158. https://doi.org/10.1108/TLO02-2018-0016.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Richand D. Ewin, Hom wood Illinois.

Pornrat, S. (2020). Work from Home Adaptation of Employees in the Eastern Economic Corridor During the Covid-19 Crisis. Burapha Journal of Business Management, 9(2), 14-33

Reiche, B. S., Lee, Y., & Allen, D. G. (2019). Actors, structure, and processes: A review and conceptualization of global work integrating IB and HRM research. Journal of Management, 45(2), 359–383.

Richard A. S. & Elwood F., H. (2001). Foundations of Human Resource Development. Berrett-Koehler.

Roy,S. C. (1999). Introduction to Nursing : An Adaptation Model. Prentice Hall.

Rudsada, K. (2010). Guideline for Increasing Service Efficiency of Hotels under Patong Hotel Association, Phuket Province. Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University, 2(1), 253-255.

Saramolee, A., Hareebin, Y., Boonkaew, S., Aujirapongpan, S., & Jutidharabongse, J. (2022). Professional Skills Development Affecting Organizational Learning and Corporate Performance: An Empirical Study in Thailand. TEM Journal, 11(1), 234–241.