การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสอนในระดับประถมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 15 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 42 คน เลือกการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 2 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 1) แบบสอบถามแนวสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 2) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 และ3) แบบสอบถามการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 โดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 ภาพรวมอยู่ระดับมาก (𝑥̅= 4.30, S.D.= 0.50) 2) ผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทักษะที่จำเป็นศตวรรษที่ 21 มีความเห็นภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (𝑥̅= 3.82, S.D.= 0.71)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวาสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนเท่านั้น
References
Dechakupt, P. (2018).Collaborative Active Learning with Professional Learning Community (PLC) for Development. Bangkok: Chulalongkorn Universisty Press.
Kamphaeng Phet Province Education Office, Ministry of Education (2021). The Guiding of Learning Managemnt of Active Learning for Student Skill Development in 21st Century Kamphaeng Phet Province. Kamphaeng Phet: Supervision Tracking and Evaluating Group, Kamphaeng Phet Province Education Office, Ministry of Education.
Laoriandee, W., kitrungreung, P., & Sirisamphan, O. (2017). The Learning Management Strategy of Active Learning for Thinking Development and Quality Education Updrade for 21st Century. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group Limited.
Office of the Basic Education Commission Ministry of Education (2019). The Supervision Guiding for Developing and Support Learning Management of Active Learning Based on Teach Less, Learn More Policy. Supervision Unit, Office of the Basic Education Commission.
Panich, V. (2013). The Learning Creation to 21st Century. Bangkok: Siam Commercial Foundation.
Silberman, M. (1996). Active Learning: 101 Strategies to Teach Any Subject. Allyn and Bacon: Boston.
Sri-sa-ard, B. (2017). Preliminary research (10th ed). Suveiriyasarn.
Suprom, S. (2018). Development of Active Learning Management Ability in the 21st Century for High School Students. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 7(2), 49-58.
Vichanati, S. (2019). 21ST CENTURY LEARNING SKILLS : CHALLENGES FOR TEACHERS OF BUDDHISM. Pañña Panithan Journal, 4(2), 81-94
Vinitasatitkun, P., & Yaemkwanyuen C. (2022). Active Learning: Guidelines for Best Practice in the 21st century. Journal of Educational Innovation and Research, 6(3), 921-933.
Watnayoo, C., Toonthong, S., & Chalaywares N. (2018). Developing the21st Century Skills on Information, Media and Technology on Computer Creativity towards Learning for Grade 5 students Using Coaching. Journal of Humanities and Social Sciences, 10(1), 1-15.