การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) โรงเรียนอนุบาลกระบี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

เปมิกา ส่งกลิ่นจันทร์
บรรจง เจริญสุข
สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาทักษะ การสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) 2) พัฒนาทักษะ  การสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) และ 3) ประเมินผล  การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชาวไทยในโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (EP) โรงเรียนอนุบาลกระบี่ จำนวน 13 คน เก็บรวมรวบข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการ จำนวน 36 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.70-1.00  มีค่า         ความเชื่อมั่น 0.99 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.33-0.67  มีค่าอำนาจจำแนก 0.24-0.97 มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ จำนวน 4 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 แบบสังเกตพฤติกรรม จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 11 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.43-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 และแบบนิเทศติดตาม จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 3.41 อยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.00 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเท่ากับ 26.92 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.73 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการที่เท่ากับ 19.23 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.10 และคะแนนเฉลี่ยทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของกลุ่มเป้าหมายเท่ากับ 36.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anuban Krabi School. (2022). Action Plan 2023. Anuban Krabi School.

English Language Institute, Office of the Basic Education Commission. (2016). The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) Handbook. WVO thai printing.

Jaiyeakyen, P. (2020). Guidelines for Development of Thai Teachers in English Program in Secondary Schools under the Office of Education Commission in Bangkok. An Online Journal of Education.15(2), 1-14. Retrieved March 15th, 2023, from https://so01.tci-

thaijo.org

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed). Victoria: Deakin University.

Lakhamja, R. The Development of Communicative English Packages to Enhance English Listening and Speaking Abilities among People in Nakhon Sawan Province. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 18(1), 41-63.

Office of the Basic Education Commission. (2017). Guidelines for Implementation of Teaching English Program Policy. Aksornthai.

Papim, W. Development of Training Package by Using Schoology in Professional Learning Community Online for Improving English Communication Skills of Primary School English Language Teachers in Krabi Province. Santapol College Academic Journal, 7(1), 29-38.

Phajan, P. (2018). The Management for Teacher Development on English Skills. [Doctoral dissertation] Silpakorn University.

Phetsombat, P. (2020). The Requirement of English-Language Skill Development for Communication Of the Students of Master of Education Program in Educational Administration At Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Partum Thani Province. Journal of Graduate Review Nakhon Sawan Buddhist College, 8(1), 123-136.

Sukhphan, P. (2018). The Development of English Communication Skills as Graduate in Modern Times. Journal of MCU Haripunchai Review, 2(2), 89-100.