ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน

ผู้แต่ง

  • บุษราภรณ์ โพธิ์ขวัญยืน วิทยาศาสตร์บัณฑิต เทคนิคการแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง ปร.ด. รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ภูกิจ ยลชญาวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดบริการและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีอำนาจสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์ ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ใช้งานเครื่อง ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test, F-test และ LSD. ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้มีอำนาจสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีตำแหน่งหน้าที่เป็นนักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุ 26-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุการทำงาน 1-5 ปี ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมากในกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในด้านกระบวนการให้บริการมากสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านพนักงานขาย ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ในส่วนของระดับความสำคัญพฤติกรรมการสั่งซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน อยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญอยู่ที่ด้านเหตุผลในการเลือกซื้อเครื่องมือแพทย์มากสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านแหล่งของเครื่องมือแพทย์ที่ต้องการซื้อ ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสารในการหาข้อมูลในการซื้อเครื่องมือแพทย์ ด้านผู้มีอำนาจร่วมในการซื้อเครื่องมือแพทย์ และด้านความถี่ในการซื้อเครื่องมือแพทย์ (2) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า อายุ และอายุการทำงานที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน และ (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

References

[1] กรมศุลกากร.(2557). “สถิติการนำเข้า-ส่งออก”.สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ http://www.customs.go.th/wps/wcm/connect/Library%20cus501th/InternetTH/11/11_2/?WCM_PI=1&WCM_Page.78810e98-47a1-4318-af88-505f98ce73da=2 ( 22 กันยายน 2558 )

[2] สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2555). “รายงานการสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน”.สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search_center/23project-th.htm (22 กันยายน 2558)

[3] กระทรวงพาณิชย์.(2549). “การขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยในปี 2549”.สืบค้นจาก แหล่งข้อมูลออนไลน์http://www.dbd.go.th/thai/statistics/stat_m1.phtml (22 กันยายน2558)

[4] สภาเทคนิคการแพทย์(2558). “พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (2551 )”. สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์http://www.mt
council.org/content/419-พระราชบัญญัติ เครื่องมือแพทย์+2551.html

[5] ประชาชาติธุรกิจ.(2551). “พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ฉบับใหม่คลอดแล้ว ออกกฎเหล็กเข้มงวดคุมครองคนไทย” สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์http:www1.matichonmultim
dia.com/matichon/prachachat/news_title.ph. (22 กันยายน 2558)

[6] เครื่องมือแพทย์ . สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์.http://busnatchanon.blogspot.com/search?updated-min=2014-01-01T00:00:00-08:00&updated-max=2015-01-01T00:00:00-08:00&max-results=10

[7] รายชื่อโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพและปริมณฑลhttp://www.aioibkkins.co.th/picture/service/hospital_bangkok.html

[8] รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร https://th.wikipedia.org/wiki/

[9] รายชื่อโรงพยาบาลเอกชนปี 52 สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์bps.ops.moph.go.th
/Resour/Res/รพ.เอกชน.xls

[10] มิสเตอร์ M (2556) เจาะหุ้น VI โรงพยาบาล ไทย. กรุงเทพฯ:อินส์พัล.

[11] สุปัญญา ไชยชาญ.(2538). การบริหาร การตลาด กรุงเทพมหานคร พี เอ ลิฟวิ่ง.

[12] ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2541).”ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ (Marketing Mix '7Ps )” สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์.http://thesisavenu e.blogspot.com/2008/09/marketing-mix-7ps.html

[13] เสรี วงษ์มณฑา (2542).”การวิเคราะห์พฤติกรรม ผู้บริโภค”. กรุงเทพฯ บริษัท ธีระฟิล์ม และ ไซเท็กซ์ จำกัด.

[14] ฉัตยาพร เสมอใจ (2550).” พฤติกรรมผู้บริโภค” กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

[15] แสง สงวนเรือง และคณะ. (ม.ป.ป.). “เอกสารประกอบการสอนตลาดอุตสาหกรรม”. คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

[16] ลัดดา บัวคลี่ .(2551). “ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ขโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาการจัดการ กรุงเทพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

[17] กีรวุฒิ ว่องสินไพบูลย์ .(2556). “กลยุทธ์การจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ กรณีศึกษา บริษัท รีโซลิค จำกัด”. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจสำหรับผู้บริหาร สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

[18] กุรุพินท์ เวชทรัพย์ .(2548). “การสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลตัวอย่าง” .วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

[19] ลลดา ศิรปรีชาชัย .(2552). “การเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเครื่องมือแพทย์ของบุคลากรโรงพยาบาลในเขตจังหวัดอีสานตอนล่าง” วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

[20] ประเวศ กล้าหาญ .(2556). “ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ในการซื้อเครื่องมือแพทย์สำหรับตรวจวินิจฉัย”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[21] นายไวพจน์ รักมิตร .(2550 ). “พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไฮดรอลิคของบริษัทอาร์เอ็ม คอมเมอร์เชียล จำกัด”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

[22] ปราณี ศรีสำอาง .(2551). “การวิเคราะห์โครงสร้างตลาดอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทย” . สารนิพนธ์ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

[23] วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน .(2553). “ การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาสมุนไพรเจี่ยวกู่หลานของผู้บริโภคในเขตอำเภอ เมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สถานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

[24] พรพรรณ ภาคีเคียน .(2552). “ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการในการบริโภคกาแฟร้านบ้านใร่กาแฟ”. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

[25] สันติ บุญประเสริฐ .(2554). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ โตโยต้า วีออส ของผู้บริโภค ในจังหวัดสมุทรสาคร” การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

[26] บุญญารัตน์ เลาหนุสรณ์ .(2556) .”ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกของชำของผู้บริโภคในซอยเพชรเกษม 79 เขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร”. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์

[27] ว่าที่ ร.ต. ธนกร ไชยพันธ์ .(2555).” พฤติกรรมการ เลือกชื้อผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงามในเขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร”. การศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์

[28] นารีรัตน์ ทาสิงห์คำ .(2552).” ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยกลับมาพักฟื้นที่บ้านในอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา” . การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

[29] สุเทพ ชันชีกรด .(2552). “พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไฮดรอลิคส์ของกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

[30] วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2549). “ระเบียบพัสดุฯและ ปัจจัยการตัดสินใจซื้อยาในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลระดับจังหวัด ปี 2549” สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์htpp:www.library.hsri.or.th labs/res/hs 104lt.doc (11 สิงหาคม 2555)

[31] มีธนา สฤษดิ์นำ. (2549). “ความพึงพอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมการตลาดของบริษัท ก๊อปปี้ เท็คซ์จำกัด ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” . การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[32] ดุสิต หลิมเจริญ .(2545). “ปัจจัยการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ส่วน บุคคลมือสองในเขตจังหวัดจันทบุรี”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นนทบุรี
มหาวิทยาลัยธรรมาธิราช

[33] พัชรพร ปิ่นทอง.(2548).“พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไทย”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[34] มิตร ชูนิ่ม. (2549). “ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการสั่งซื้อเครื่องจักรแปรรูปอาหารของผู้ประกอบการ”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

[35] วรชาติ ตันติวาจา. (2549). “การศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัด ตันติออโตเมชั่น”การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[36] สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย .(2549). “ประมวลเรื่องเกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535”. กรุงเทพมหานคร ม.ป.ท.

[37] สุนทณีย์ ศุภวิไล.(2549). “ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจร้านเบเกอรี่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” . พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา

[38]Kotler, Philip. (2006). Marketing Management. New jersey : Prentice-Hall.

[39]Philip Kotler. (2006). B2B Brand Management. Heidlberg: Springer Berlin

[40]H.Robert Dodge. (1964). Field Sales Management . New York : John Wileyand Sons.Inc.

[41]Phillip Kotler,Gary Armstrong. (1997). Principles of Marketing (International Edition). 9th Edition. Prentice Hall International, Inc Hawkins, Del. I., Best, Roger J. and Coney, Kennet

[42] A. (1998). Consumer Behavior : Building Marketing Strategy.7th ed.Boston: McGraw – Hill.David L.Loudon andAlbert J.Della Bitta.(1993). Consumer Behavior:Concept and applications 4thed.New York : McGrawHill International,Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-13