การวางแผนทางการเงินก่อนเกษียณอายุ
คำสำคัญ:
การวางแผนทางการเงิน, การออม, เกษียณอายุบทคัดย่อ
จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากรของประเทศไทยในระยะที่ผ่านมาพบว่า ประชากรสูงอายุหรือวัยเกษียณมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อลดหรือบรรเทาปัญหาภาระการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ บุคคลจึงควรมีการวางแผนการออมเงินและการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อเป็นรายได้ในยามเกษียณ สำหรับปัญหาดังกล่าวนี้ทางภาครัฐก็ได้เล็งเห็นความสำคัญและนำการออมภาคบังคับมาใช้ ได้แก่ให้เอกชนต้องออมเงินผ่านกองทุนประกันสังคม ส่วนข้าราชการก็ออมเงินผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำหรับการออมภาคสมัครใจ ได้แก่ การออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นต้น นอกจากการออมภาคบังคับข้างต้นแล้ว บุคคลยังสามารถออมเงินด้วยตนเองโดยการนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อาทิ หุ้นสามัญ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ที่ดิน บ้าน คอนโด ทองคำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการลงทุนทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรระมัดระวัง โดยให้มั่นใจว่าเงินต้นของตนเองยังปลอดภัยและสามารถนำดอกผลจากการออมและการลงทุนมาเป็นรายได้เลี้ยงชีพในระยะบั้นปลายของชีวิตได้อย่างพอเพียง
References
[2] ฉัตรชัย สิริเทวัญกุล, (2555). “การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ.” สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557, จาก www.set.or.th/setresearch/files/../2013.05_CMRI_Working_Paper.pdf
[3] ฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฎฐ์, (2557). “จัดพอร์ตลงทุนด้วย Alternative Investments.” สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2557, จาก www.tsi--thailand.org/index.php?option=com_content&task
[4] ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, (2557).“เจาะลึกลักษณะตราสารทุนและตราสารหนี้.” สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2557, จาก www.tsi--thailand/ index.php?option=com_content&task..id
[5] ธนาคารกรุงเทพจำกัด มหาชน, (2559) “อัตราดอกเบี้ย เงินฝาก” สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2559,จาก https://www.bangkokbank.com/ BangkokBankThai/.../DepositRates.aspx เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์, (2557). “ผู้ชายมีแผนการเงินแล้วหรือยัง การจัดสรรเงินให้เหมาะสมกับวัย.” สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2557, จากwww.kasikornsecurities. com/TH/.../Pages/Investment005.aspx
[6] สำนักกฎหมายธรรมนิติ, (2559). “ฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก RMF และ LTF” สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.dlo.co.th/node/881