ระดับความสุขในการทำงานของประชากรในเขตพื้นที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จิราวัฒน์ ไทยแท้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ประชากร, ความสุข, ตำบลศาลายา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานประชากรในเขตพื้นที่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยส่งแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรในเขตพื้นที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธ-มณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 363 ฉบับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค ด้านความสุขในการทำงานของประชากรในเขตพื้นที่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีค่าเท่ากับ 0.79 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 65.30 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่า 31 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.30 มีสถานภาพสมรสคิดเป็นร้อยละ 58.40 และมีสถานภาพหม้าย/หย่าร้าง น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2.50 ระดับการศึกษาสูงสุดของกลุ่มตัวอย่าง เป็นระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 46.00 และมีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 5.00 มีรายได้ต่อเดือนสูงสุด 10,001 - 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.80 และมีรายได้ต่อเดือน 40,001 - 50,000 บาท น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.10 ระยะเวลาการทำงานในบริษัทสูงสุดมากกว่า 1 ปี - 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.30 และ ระยะเวลาการทำงานในบริษัท 1 ปี หรือต่ำกว่า น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.30 ประเภทสายงานที่ทำสูงสุดสายงานผลิตคิดเป็นร้อยละ 55.60 ระดับความสุขในการทำงานของประชากรในเขตพื้นที่ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธ-มณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย ( gif.latex?gif.latex?\bar{x}= 3.69) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับความสุขในการทำงานสูงสุดในการทำงานคือ ด้านความรักในงาน ( gif.latex?gif.latex?\bar{x}= 3.83) มีระดับความสุขในการทำงานสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในงาน ( = 3.66) ด้านการเป็นที่ยอมรับ (gif.latex?gif.latex?\bar{x}= 3.63) และด้านการติดต่อสัมพันธ์ ( gif.latex?gif.latex?\bar{x}= 3.62) ตามลำดับ

References

[1] กัลยารัตน์ อ๋องคณา. 2549. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณค่าในตนสภาพแวดล้อมในงาน กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[2] ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา กาญจนา ตั้งชลทิพย์ ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต ปังปอนด์รักอำนวยกิจ สุภรต์ จรัสสิทธิ์ พอตา บุนยตีรณะ และวรรณภา อารีย์. 2551. คุณภาพชีวิตคนทำงานใน ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ.นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

[3] ชัยอนันต์ รีชีวะ. 2544. การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบริษัทเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

[4] นันทรัตน์ อุ่ยประเสริฐ. 2552. ความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท เฟิสท์ดรัก จำกัด จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[5] บุญเทือง โพธิ์เจริญ. 2551. ความสุขที่คุณสร้างได้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ฐานบุ๊ค.ประเวศ วะสี. 2543. สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข.

[6] ปิยาะดา ศรประทุม. 2548. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงานภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] ปรีดาภรณ์ สีปากดี และคณะ. ความสุขบุคลากร ศิริราช. วารสารคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2550)

[8] ปิยอร ลีระเติมพงษ์. 2552. ความสุขในการทำงานของพยาบาล งานการพยายาบาศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[9] พะยอม วงศ์สารศรี. (2541). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเพทฯ: คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

[10] พรรณิภา สืบสุข. 2548. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงานภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[11] ภาวิดา ธาราศรีสุทธิและ วิบูลย์ โตวณะบุตร. 2542. หลักและทฤษฏีการบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

[12] รวมศิริ เมนะโพธิ.2550. เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข: กรณีศึกษา นักศึกษาปริญญาโทสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

[13] ลลินธร มะระกานนท์. 2550. การศึกษาการรับรู้บรรยากาศองค์กรซึ่งส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานสายการผลิตในบริษัทเอกชน. วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

[14] สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.). 2548. รวมตัวชี้วัดเกี่ยวกับความอยู่เย็นเป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

[15] อภิชัย มงคล และคณะ. (2544). รายงานวิจัยการศึกษาดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.

[16] อภิพร อิสระเสนีย์. 2549. ความสุขและความสามารถในการเผชิญปัญหาของกลุ่มครูอาสาสมัครในพื้นที่ประสบภัยสินามิ. การค้นคว้าอิสระปัญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[17] Davis. L.E. (1997). Ewhancing the quality of working life: developments in the United Stater. International Labour Review. 116, pp.533-65.

[18] Veenhoven, R. 1991. Is happiness relative?, Social Indicators Research. 24: 1-34.

[19] WHO Basic Documents. 1996. Constitution of the World Health Organization.

[20] มีนา นุ้ยแนบ. 2548. พฤติกรรมเสริมสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางขนาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชิต ครั้งที่ 4. โรงแรมปรินซ์พาเลช กรุงเทพมหานคร.

[21] จรรยา ดาสา. 2558. ความสุขในที่ทำงาน (Happy workplace). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จาก http://www.il.mahidol.ac.th/th/images/stories/exchange/7-05-52_Column_6.pdf.

[22] ชัญเสฏฐ์ พรหมศรี. 2553. ความสุขในที่ทำงาน. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จากhttp://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_10/pdf/89-91.pdf.

[23] นภดล กรรณิกา. 2551. ประเมินความสุขของคนทำงาน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 – 16 ปี ที่ทำงานในสถานประกอบการและองค์กรธุรกิจในเขตกรุงะเทพมหานคร. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558. จาก http://www.ryt9.com/s/abcp/416085.

[24] ประเวศ วะสี. 2548. มรรค 12 สู่ประเทศไทยอยู่เย็นเป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สานักงานปฏิรูประบบสาธารณสุขแห่งชาติ.ประพนธ์ ผาสุกยืด. 2549. สวรรค์ในที่ทำงาน. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558. จากhttps://www.gotoknow.org/blog/blog/beyondkm/58183.

[25] พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). 2552. ความสุข 5 ชั้น. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จาก http://www.cdthamma.com/forums/index.php?topic=2808.0.

[26] วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. 2557. ความสุข. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82.

[27] วัชราภรณ์ เพ่งจิตต์ (2558). ความสุขคืออะไร. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558. จาก http://www.stjohn.ac.th/University/Guidance/kwam-suk-kua-a-rai.htm.

[28] ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558. บรรยากาศในองค์กร. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 จาก http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php.

[29] ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2549. การวิจัยการตลาด. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ธรรมสาร จำกัด. ศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2554. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2558. จากhttp://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php

[30] ศิรินทิพย์ ผอมน้อย. 2551. ความสุขในการทำงาน. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=278062.

[31] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558 จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=1 39.

[32] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558 จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395.

[33] สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. 2558. สิ่งประกอบสำคัญที่ทำให้การทำงานมีความสุข. ค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 จาก http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42022/42022-4.htm.

[34] อาภรณ์ ภู่วิทยาพันธุ์, 2553. บริหารความสุขในการทำงาน. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2558. จาก http://www.peoplevalue.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539104744&Ntype=10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31