พฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อ สาหร่ายพวงองุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การตัดสินใจ, ส่วนประสมทางการตลาด, สาหร่ายพวงองุ่นบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อแนวโน้มการตัดสินใจเลือกซื้อสาหร่ายพวงองุ่น โดยการเก็บแบบสอบถามจากผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 ตัวอย่าง และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test ค่า One-Way Analysis of Variance(F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ฟาย การทดสอบค่า Pearson correlation อย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการซื้อ บุคคลในครอบครัว ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแนวโน้มการตัดสินใจซื้อในอนาคต จะแนะนำสาหร่ายพวงองุ่นให้ผู้อื่นที่รู้จักมาเลือกซื้อ และจะกลับมาซื้อซ้ำ ส่วนเพศที่แตกต่างกันมีความสำคัญต่อแนวโน้มการแนะนำให้ผู้อื่นที่รู้จักและจะกลับมาซื้อซ้ำที่แตกต่างกัน, อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความสำคัญต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อในอนาคตแตกต่างกัน, พฤติกรรมการเลือกซื้อมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจซื้อในอนาคต และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสาหร่ายพวงองุ่นที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
[2] ณัฐภัทร วัฒนถาวร และ ชุติมาวดี ทองจีน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู๊ดของประชากรในกรุงเทพมหานคร. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านบริหารธุรกิจราชมงคลพระนคร และการนำสนอผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 236-250. 16-17 ธันวาคม.
[3] ปิยะพร มิตรภานนท์ และ นวลฉวี แสงชัย. (2558). พฤติกรรมและปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[4] พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(1) (มกราคม - เมษายน 2556), 59-65.
[5] วิศรุต สุวรรณา. (2560). Innovation Trend. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2560 จาก http://www.nia.or.th/
[6] เวทย์ นุชเจริญ. (2559). อาหารเพื่อสุขภาพ Mega-trend ของคนรักสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2560. จาก http://www.bangkokbiznews.com/
[7] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). โอกาสทำเงินเกาะกระแสอาหารสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.
[8] ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี. (2559). เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น 300 บาท/ก.ก. ผลงานของ ศพช.เพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559. จาก https://www.palangkaset.com
[9] สายพิณ วิศัลยางกูร และอิทธิกร ขําเดช. (2554). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของคนวัยทํางานในกรุงเทพมหานคร. วารสาร การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 1(2), 113-130.
[10] สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
[11] อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคและรูปแบบผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[12] Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley & Sons. Inc.
[13] Ferguson George F. (1976). Statistical Analysis in Psychology and Education. (4th ed.). Tokyo: McGraw-Hill Kogakusha.
[14] Hawkins, Del I., and et al. (2004). Consumer Behavior:building. Marketing strategy Dell. Boston, Mass. McGraw-Hill : 500-501.
[15] Philip Kotler, and Kevin Lane Keller. (2012). Marketing management. Essex : Pearson Education.
[16] Wayne D. Hoyer and Deborah J. MacInnis. (2010). Consumer behavior. Boston : Houghton Mifflin Co.