กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • จตุรพร จันทร์ลอย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม
  • ณภัทร บุณยทรรพ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม
  • พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, ประสิทธิภาพ, ธุรกิจโรงภาพยนตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการวางแผนการตลาด ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และปัจจัยเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 ตัวอย่าง ใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 58.2 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 66.4 มีอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.8 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 63.6 มีอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 36.4 และมีรายได้ 40,000 บาท ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 31.2 ผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการวางแผนการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการตลาดแบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยเทคโนโลยีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยการวางแผนการตลาดด้านกลุ่มเป้าหมาย ขนาดโรงภาพยนตร์ จุดขายภาพยนตร์ รอบฉาย และที่นั่ง, ปัจจัยการตลาดแบบบูรณาการด้านการโฆษณา การขายโดยอาศัยพนักงานขาย การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง และปัจจัยเทคโนโลยีด้านประเภทจอภาพ ระบบเสียง และระบบจองตั๋ว

References

[1] ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2558). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

[2] บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน). (2560). [ออนไลน์]. ข้อมูลทางการเงิน 56 - 1. [สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560]. จากhttp://corporate.majorcineplex.com/

[3] พิสุทธิ์ เดชวงศ์ญา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงภาพยนตร์วิสต้ากาดสวนแก้วกับโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


[4] มุทิตา ปุงคานนท์. (2550). พฤติกรรม ทัศนคติ และลักษณะของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการใน ศูนย์การค้าเอสพลานาด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

[5] ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (538) กรุงเทพฯ: นานมี บุคส์พับลิเคชั่นส์.

[6] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). รายได้โรงภาพยนตร์. กระแสทรรศน์. ฉบับที่ 2627. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.kasikornresearch.com/th/k-econ analysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=34034

[7] เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

[8] อธิพัฒน์ เสมออ่วม. (2550). ทัศนคติ พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพ

[9] อนัญญา จันทร์แก้ว. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพ

[10] Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2001). Marketing. (12th ed.). Boston: McGraw-Hill.

[11] Kotler, (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

[12] Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York : McGraw Hill Book Company.

[13] Schiffman & Kanuk. (2000). Consumer Behavior. (7th ed). Upper Saddle River,N.J Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30