ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย
คำสำคัญ:
บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม, ผู้ประกอบการรายย่อย, การตัดสินใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย (2) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย และ (3) จัดทาข้อเสนอแนะด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมอบแก่ผู้ประกอบการรายย่อย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.17) และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.01) (2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุ รายได้ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย แตกต่างกัน และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย (3) ผู้ประกอบการรายย่อยมีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ควรมีการส่งเสริมเรื่องคุณสมบัติและข้อดีให้ผู้ประกอบการได้รับรู้เพิ่มมากขึ้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้หันมาเลือกใช้และควรเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย ซึ่งถ้ามีผู้ประกอบการรายย่อยใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนั้น ก็จะเป็นการลดภาวะโลกร้อน ทาให้โลกของเราน่าอยู่ และผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้น
References
ดวงฤทัย ธารงโชติ. (2550). เทคโนโลยีภาชนะบรรจุ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
นันทสารี สุขโต และคณะ. (2555). หลักการตลาด (Marketing an Introduction). กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
บุษรา สร้อยระย้า และคณะ. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสาหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสาเร็จรูป. งานวิจัยคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2552). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีรภัทร วัสสระ. (2558). การศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพร เต็งรัง. (2558). การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2561, จาก http :// www.doa.go.th.
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สมพงษ์ เฟื่องอารมณ์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพมหานคร: จามจุรี โปรดักท์.
เสริมยศ ธรรมรักษ์ และอริชัย อรรคอดุม. (2554). การรับรู้กับแนวทางการศึกษาการสื่อสารตราสินค้า. วารสาร นักบริหาร, 31(4), 65 - 72.
อรรถพล เรืองกฤษ. (2554). ปัจจัยการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมน้าตาล ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิค AHP. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการด้าน โลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย.
Fastboxs. (2018). บรรจุภัณฑ์. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2561, จากhttps://www.fastboxs.com/.
Graphicbuffet. (2017). เทรนด์บรรจุภัณฑ์. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561 จาก https://graphicbuffet.co.th/.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. (11th ed.) Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Saiseenews . (2015). ภาวะโลกร้อน. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2560, จาก http://www.saiseenews.com/.