อิทธิพลการรับรู้คุณค่าของลูกค้าในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงคุณภาพการให้บริการสู่ ความพึงพอใจของลูกค้าในโครงการหมู่บ้านบุราสิริ ราชพฤกษ์–แจ้งวัฒนะ
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, การรับรู้คุณค่าของของลูกค้า, ความพึงพอใจ, ตัวแบบสมการโครงสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่าของลูกค้า และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโครงการหมู่บ้านบุราสิริ ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ และ (2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าของลูกค้าเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงคุณภาพการให้บริการสู่ความพึงพอใจของลูกค้าภายในโครงการหมู่บ้านบุราสิริ ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้พักอาศัยในโครงการหมู่บ้านบุราสิริ ชัยพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ จานวน 100 หลัง สถิติที่ใช้ในการวิจัย (1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ (2) สถิติการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่าของลูกค้า และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ พบว่า การรับรู้คุณค่าของลูกค้าเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงคุณภาพการให้บริการสู่ความพึงพอใจของลูกค้าในโครงการหมู่บ้านบุราสิริ ราชพฤกษ์–แจ้งวัฒนะ
References
บจก.อินสแตนท์ เอสเตท แมเนจเม้นท์, ข้อมูลโครงการที่บริหารจัดการหมู่บ้านจัดสรรในกรุงเทพมหานคร
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกาลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจาปี 2553.
วีรพงษ์ เฉลิมจิรรัตน์. (2543). คุณภาพในงานบริการ (Quality in Service). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จากัด.
สุมาลี รามนัฏ. (2560). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารของคุณภาพการให้บริการ 28 เม.ย. 2560.
สานักงานนิติบุคคลหมู่บ้านบุราสิริ ราชพฤกษ์–แจ้งวัฒนะ, เอกสารกฎข้อบังคับของหมู่บ้าน
Chin, W. W. (2001). PLS Graph User’s Guide Version 3.0, URL: http://www.spss-pasw.ir/upload /images/ei8gx66re11tenmq0sm.pdf, access on 08/05/2017.
Hair, Anderson, Tatham and Black (1998)
Kotler, Philip. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. 9 th ed. New Jersey: A simon & Schuster Company.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.
Parasuraman, et al. (1990). An Empirical Examination of Relationships in an Extended Service Quality Model, Marketing Science Institute, Cambridge, MA.
Tenner, A. R., and Detoro, I. J. (1992). Total Quality Management : There Step to Continuous Improvement. Massachusetts : Addison-Wesley.