อิทธิพลคั่นกลางของความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในการเชื่อมโยงคุณภาพการให้บริการสู่ การตัดสินใจเลือกใช้บริการรับเหมาซ่อมบารุงโรงไฟฟ้าชีวมวล
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจ, พฤติกรรมการตัดสินใจ, ตัวแบบสมการโครงสร้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และการตัดสินใจเลือกใช้
บริการรับเหมาซ่อมบารุงโรงไฟฟ้าชีวมวล และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงอิทธิพล
ของคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรับเหมาซ่อมบารุงโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
คือผู้ที่มีอานาจในการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการรับเหมาซ่อมบารุงในโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งได้แก่ ฝ่ายวางแผนซ่อมบารุงหรือฝ่าย
จัดซื้อจัดจ้างในโรงไฟฟ้าชีวมวลเอกชนในประเทศไทย จานวนทั้งสิ้น 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิเคราะห์ตัวแบบสมการ
โครงสร้างด้วยโปแกรม PLS Graph 3.0
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และการตัดสินใจเลือกใช้บริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับมาก ส่วนผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ พบว่า ความพึงพอใจของ
ผู้ใช้บริการในฐานะตัวแปรคั่นกลางเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้
บริการรับเหมาซ่อมบารุงโรงไฟฟ้าชีวมวล
References
สานักงานนโยบายและแผนพลังงาน. กระทรวงพลังงาน. (2557). สรุปแผนพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2555-2573 (ฉบับปรับปรุงครั้ง ที่ 3).
พิมพ์อนงค์ ริมสินธุ. (2545). การศึกษาประโยชน์ของโรงไฟฟ้าชีวมวล, มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม, ศูนย์ส่งเสริมพลังงานชีวมวล.
สานักงานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน. (2557). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ กรณีโรงไฟฟ้าชีวมวล.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกาลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553.
Parasuraman, et al. (1990). An Empirical Examination of Relationships in an Extended Service Quality Model, Marketing Science Institute, Cambridge, MA.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ.(2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธีระฟิล์ม และไซเทกซ์ จากัด.
Kotler, Philip. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation and control. 9 th ed. New Jersey: A simon & Schuster Company.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.
Chin, W. W. (2001). PLS Graph User’s Guide Version 3.0, URL: http://www.spss-pasw.ir/upload/ images/ei8gx66re11tenmq0sm.pdf, access on 08/05/2017.
Tenner, A. R., and Detoro, I. J. (1992). Total Quality Management : There Step to Continuous Improvement. Massachusetts : Addison-Wesley.
วีรพงษ์ เฉลิมจิรรัตน์.(2543). คุณภาพในงานบริการ (Quality in Service). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).