ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดเล็ก กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • อริญชย์ ณ ระนอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วุฒิศักดิ์ เจริญวงศ์มิตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดเล็ก ในจังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.50 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 29.75 ศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.50 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 39.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 37.00 และโสด ร้อยละ 54.75 นอกจากนี้พบว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดเล็กในจังหวัดนนทบุรี ภาพรวมทั้งหมด 7 ด้าน หากทาการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีมูลค่า 4.05 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 รองลงมาได้แก่ด้านบุคคล ด้านราคา และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลาดับ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03, 3.97 และ 3.96 ตามลาดับ

References

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications.

กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557). พฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ทองเกษม.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). ธุรกิจภัตตาคาร/ ร้านอาหาร. กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.

พิสิษฐ์ สุวรรณแพทย์ และกตญมหาชนะวงศ์ สุวรรณแพทย์ (2561). ปัจจัยส่วนประสม การตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟสด ในอาเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561) หน้า 2169–2184.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). คาดมูลค่าตลาดร้านอาหารปี 61 ขยายตัวร้อยละ 4-5. กระแสทรรศน์ ฉบับบที่ 2904.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-01