การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปริชญา คงปลอด
  • สมฤทัย อุปมา
  • ศิริวรรณ ปิ่นแก้ว
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์
  • ทาริกา สระทองคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาด และการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร
(2) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส
กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน และ (3) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ และปัจจัยส่วนประสม
ทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าใน
เขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ Chi-square และ One-way Anova โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง
31-40 ปี มีสถานภาพโสด ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
อยู่ที่ 30,001-40,000 บาท ระดับการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าใน
เขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 (2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา
และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา:
กลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์
ด้านงบประมาณในการเลือกซื้อ และขนาดพื้นที่ใช้สอยในการเลือกซื้อมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อ
คอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร และ (4) ปัจจัยส่วนประสมทาง
การตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการมิกซ์ยูส กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าใน
เขตกรุงเทพมหานคร

References

นฤตย์อร ศรีคงแก้ว และคณะ. (2558). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมใน
กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562, จาก http://gs.nsru.ac.th/files/3/7นฤตย์อร%20%/20
ศรีคงแก้ว.pdf.

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2540). ลักษณะการเติบโตของกรุงเทพมหานคร, ข่าวสารกรมการผังเมือง ฉบับที่ 66
//2540 กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมการผังเมือง.

ภัฐฬเดช มาเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. ค้นเมื่อ 6
พฤษภาคม 2562, จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/4171/2/Fulltext
.pdf.

ภูริณัฐ ธนวิบูลย์ชัย. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ของพนักงาน บริษัทเอกชน. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราช ศิริวัฒน์. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562, https://
doctemple.wordpress.com/2017/01/25.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ
สุภิดา ผดุงขวัญ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเช่าหอพักของพนักงาน ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร
อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
Kotler, P. (1997). Marketing management analysis, planning, implementation and control (9th
ed.) Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall.

Kuester,Sabine. (2012). MKT 301: Strategic Marketing & Marketing in Specific Industry.
Contexts,University of Mannheim, p. 110.

Taro Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory. New York: Haper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28