ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพ สำหรับกลุ่ม Millennial ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, อาหารกล่องเพื่อสุขภาพ, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมศาสตร์ต่อ
การตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่ม Millennial ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษา
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่ม Millennial ในพื้นที่
เขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ t-test, One-way Anova และ Regression โดยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 267 คน (ร้อยละ 66.80) อายุ 28-32 ปี
จำนวน 84 คน (ร้อยละ 21.00) สถานภาพโสด จำนวน 233 คน (ร้อยละ 58.30) อาชีพพนักงานบริษัท จำนวน
94 คน (ร้อยละ 23.50) มีรายได้ 15,001-20,000 บาท จำนวน 97 คน (ร้อยละ 24.30) (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน
อายุที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่ม Millennial ในเขตกรุงเทพมหานครที่
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ด้านเหตุผลในการทาน และทัศนคติ
ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่ม Millennial ในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่าง
กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหาร
กล่องเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่ม Millennial ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
WellBeing.
ณัฐภัทร วัฒนถาวร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคลีนฟู๊ดของประชากรในกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). งานวิจัยที่เกี่ยวข้องพฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อ
สุขภาพ. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. จาก https://journal.pim.ac.th/uploads/content/2014/.
นันจนันท์ นิลทัพ. (2555). Function Food. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. จาก https://sites.google.com/site/
natjanan2555/extra-credit.
ราช ศิริวัฒน์. (2562). แนวคิดและทฤษฎีการตัดสินใจซื้อ. 9 กันยายน 2562 จาก https://doctemple.word
press.com.
วิชญนาถ เรืองนาค. (2558). พฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย -
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ที่เรียนวิชาศิลปะการดำเนินชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน.
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร. (2558). กลุ่มคน Millennials. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562 จาก https://www.tcithaijo.
org › index.php › jms_psu.
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2001). Marketing management. Boston, MA.: McGraw-
Hill.
Roscoe, J.T. 1975. Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences. 2 nd edition. New
York: Holt, Rinehart and Winston.