ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ นุชนารถ
  • จิราภา พนารินทร์
  • ธนภรณ์ ปิยพิทักษ์บุญ
  • ภัทธนัน สาระโชติ
  • ธรณิศร นาคสัมพันธ์
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์
  • ทาริกา สระทองคำ

คำสำคัญ:

บริการการรับส่งอาหาร, ส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้
บริการ Food Delivery (2) ศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food
Delivery และ (3) ศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food
Delivery การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ t-test, One-way ANOVA และ Simple regression โดยวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบใช้ความสะดวก (Convenience Sampling) ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.00 อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 68.50 ระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี ร้อยละ
77.50 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 55.30 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15 ,000 บาท ร้อยละ 42.00
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า (1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food
Delivery ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) พฤติกรรมการเลือกใช้บริการ ด้านเหตุผลที่
เลือกใช้บริการ Food Delivery ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการ Food Delivery แตกต่างกัน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
Food Delivery อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). ประเภทของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2562. จาก
https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=677&filename=index,

กฤชฐา ตรูวิเชียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้า
เซ็นทรัล เวิลด์. วิทยานิพน์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

การเงินธนาคาร. (2562). การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติบโตต่อเนื่อง. ค้น
เมื่อ 22 พ.ค. 62. จาก https://www.moneyandbanking.co.th/new/25558/2/การแข่งขันของ
แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร-ดันธุรกิจ-Food.

ชนิภา ช่วยระดม. (2560). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ. ค้นเมื่อ 26
ตุลาคม 2562. จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60248.

ธรินทร์ ธนียวัน. (2562). Grab ยืนยันว่า ตัวเองเป็นเบอร์ 1. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562. จาก https://position
ingmag.com/1238094.

ปณิศา มีจินดา. (2553). การจัดการภายหลังการบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการ. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2562. จาก
https://www.marketingoops.com/reports/buying-decision-process.

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food
Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. จาก http://passakorn
2326.blogspot.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28