ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มคนเหงา

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ ธรรมจง
  • ณัฐวิภา ศรีนิธิกานตยากร
  • พชรพรรณ ภู่เทศ
  • มันตา สุกก่ำ
  • รัญชิดา ศรีวิเชียร
  • ทาริกา สระทองคำ
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, กลุ่มคนเหงา, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ ลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์ และ
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มคน
เหงา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 425 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัย
คือ ผู้บริโภคกลุ่มคนเหงาชาวไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ t-test,
One-way ANOVA และ Linear Regression โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Quota Sampling) ประกอบด้วย
5 เขต ได้แก่ เขตสายไหม เขตคลองสามวา เขตบางแค เขตบางเขน และเขตบางขุนเทียน
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มคนแอบเหงา เป็นเพศหญิง มีอายุ 26-35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพ
นักเรียน/นักศึกษา มีสถานภาพโสด และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท สื่อสังคมออนไลน์ในการซื้อสินค้า
คือ เฟซบุ๊ก ซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้า จำนวน 2-3 ครั้งต่อเดือน ซื้อในช่วงเวลา 18.00-23.59 น. เลือกซื้อสินค้า
ในราคา 300-500 บาท มีผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ คือ ตัวเอง และส่วนมากชำระเงินผ่านธนาคารทาง
โทรศัพท์มือถือ (2) อายุและระดับรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ ประเภทสินค้าที่ซื้อ
ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ และช่องทางในการชำระเงินที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่าน
สื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ส่วนประสมทางการตลาด ด้าน
ผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กุลยา เมืองศรี และถนอมพงษ์ พานิช. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเสื้อคู่รักในตลาดออนไลน์
ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.

ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก และคณะ. (2559). ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัด
อุบลราชธานี (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2562). ซีเอ็มเอ็มยูชี้ 5 กลุ่มธุรกิจรับเทรนด์ “โลนลีมาร์เก็ต”. Mgronline.ค้นเมื่อ 22
กรกฎาคม 2562, จาก https://mgronline.com.

ปรารถนา พะสิม และวิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
สินค้าช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่ายเฟซบุ๊กและ
อินสตาแกรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มานะ ตรีรยาภิวัฒน์. (2552). นักข่าวกับ Social Media. Thai journalist’s association: สมาคมนักข่าว
นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2562, จาก http://www.tja.or.th.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทย์พัฒนา.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2553). Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. วารสาร นักบริหาร
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 30(4): 63-69.

Lovelock, C. & Wirtz, J. (2007). Principles of Service Marketing and Management: People,
Technology, Strategy. (6th ed.). New Jersey: Pearson/Prentice Hall.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). ConsumerBbehavior (7th ed.). Upper SaddleRiver, N.J
Prentice Hall.

Solomon. (2002). Consumer Behavior. N.J Prentice-Hall.

Taro Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory. New York: Haper & Row.

Weiss, R. S. 1973. Loneliness: The experience of emotional and social isolation. Cambridge, MA:
MIT Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28