อิทธิพลของความได้เปรียบทางการแข่งขันในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างสมรรถนะหลักขององค์การสู่ผลการดาเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ บุญอยู่
  • วิษณุ ปัญญาประสิทธิ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลักขององค์การ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ผลการดาเนินการขององค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความได้เปรียบทางการแข่งขันในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างสมรรถนะหลักขององค์การสู่ผลการดาเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย กลุ่มประชากรเป็นพนักงานในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดระยองที่จดทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีจานวนทั้งสิ้น 152 บริษัทตัวอย่าง เป็นพนักงานระดับผู้จัดการในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทยจานวน 100 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านสมรรถนะหลักขององค์การ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสมรรถนะหลักขององค์การ ที่มุ่งเน้นตามความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมีค่าเฉลี่ยสูงสุด สาหรับปัจจัยด้านความได้เปรียบทางการแข่งขัน พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านสามารถตอบสนองลูกค้าและให้บริการได้อย่างรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนปัจจัยด้านผลการดาเนินงานขององค์การ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากโดยผลการดาเนินงานด้านความสามารถในการผลิตมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า สมรรถนะหลักขององค์การไม่มีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานขององค์การอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.10 มีค่าเท่ากับ 0.024 (t = 0.371) ในขณะที่สมรรถนะหลักขององค์การ มีอิทธิพลทางตรงต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.618 (t = 7.562) และความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดาเนินงานขององค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.828 (t = 14.148) โดยที่สมรรถนะหลักขององค์การ มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดาเนินงานขององค์การ มีค่าเท่ากับ 0.512

References

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกาลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจาปี 2553.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.

Chin, W. W. (2001). PLS Graph User’s Guide Version 3.0, URL: http://www.spss-pasw.ir/upload/ images/ei8gx66re11tenmq0sm.pdf, access on 08/05/2017.

Nimsith SI. ,Rifas AH. , and Cader MJA. , (2016). Impact of Core Competency on Competitive Advantage of Banking Firms in Sri Lanka, International Journal of Scientific Research and Innovative Technology, Vol. 3 No.7, pp. 64 – 72.

Sabah A. ,Laith A. , and Manar J. , (2012). Effect of Core Competence on Competitive Advantage and Organizational Performance, International Journal of Business and Management, Vol. 7 No.1, pp. 192 – 204.

Sadia M. , (2011). The Impact of Competitive Advantage on Organizational Performance, European Journal of Business and Management, Vol. 3 No.4, pp. 191 – 196.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28