อิทธิพลความพึงพอใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงคุณภาพการให้บริการสู่การจงรักภักดีการเลือกใช้บริการประกันชีวิตของลุกค้าบริษัทเอไอเอ

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ บุญอยู่
  • สมฤดี ไกรลพ เฟนวิด

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ, คุณภาพการให้บริการ, ความภักดีการเลือกใช้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความภักดีต่อการใช้บริการทาประกันกับบริษัทประกันชีวิตเอไอเอ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความภักดีต่อการใช้บริการทาประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตเอไอเอ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าบริษัท เอไอเอ ซึ่งถือกรมธรรม์ในสานักงานตัวแทน เอไอเอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จานวน 400 ชุด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า คุณภาพการให้บริการ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ตัวแปรด้านคุณภาพการให้บริการที่มุ่งเน้นความเป็นรูปธรรมของบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด้านกระบวนการบริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด สาหรับความภัคดีต่อการทาประกันชีวิตของบริษัท เอไอเอ สานักงานบ้านฉาง ระยอง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดย ความภักดีต่อการทาประกันชีวิตของบริษัท เอไอเอ สานักงานบ้านฉาง ระยอง ด้านมุมมองเชิงทัศนคติและจิตวิทยา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า คุณภาพการให้บริการ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.973 (t = 78.400) ในขณะที่ คุณภาพการให้บริการ มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อการทาประกันชีวิตของบริษัท เอไอเอ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.874 (t = 72.500) ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมีอิทธิพลต่อความภักดีต่อการทาประกันชีวิตของบริษัท เอไอเอ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.912 (t = 36.000)

References

กาญจนา ทวินันท์. (2558). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพานัก ระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ : 7 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 151-167.

นวลอนงค์ ผานัด. (2556). โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ และคุณค่าที่รับรู้ ที่มีต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ ความพึงพอใจ การบอกต่อ และการกลับมาใช้บริการซ้าของลูกค้า บริษัท การบินไทย จากัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณิชาปวีณ์ กกกาแหง, ธนวรรณ แสงสุวรรณ. (2558). อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าและการเปลี่ยนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ 37 ฉบับที่ 143 (ม.ค.-มี.ค. 2558) หน้า 76-93.

ขวัญดาว ใบเงิน. (2553). คุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถพ่วงหัวลากในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. ฉบับที่ 5, No 1 หน้า 67-77.

ฐิติรัตน์ กอบกิจสุมงคล. (2557). ความพึงพอใจที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกใช้การบริการด้านการประกันชีวิตบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน). การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 “เบญจมิตรวิชาการ” องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยาลัยราชพฤกษ์. 25 เมษายน 2557.

ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ. (2559). การศึกษาช่องทางการขายหลักของบริษัทประกันชีวิตผ่านตัวแทนประกันชีวิต. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2559).

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
มนตรี พิริยะกุล. (2558). ตัวแปรกากับและตัวแปรคั่นกลางในตัวแบบสมการโครงสร้าง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคาแหง, คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาสถิติ.

Westland, J. C. (2010). Lower bounds on sample size in structural equation modeling. Electronic Commerce

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28