อิทธิพลคั่นกลางของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในการถ่ายทอดทุนทางปัญญา สู่ผลการดาเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภค เกี่ยวกับนามันและก๊าซ

ผู้แต่ง

  • ศรายุธ ราคาแก้ว
  • ธัญนันท์ บุญอยู่

คำสำคัญ:

ทุนทางปัญญา, การมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ, ผลการดาเนินการขององค์การ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยเชื่อมโยงที่มีอิทธิพลคั่นกลางของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในการถ่ายทอดทุนทางปัญญาสู่ผลการดาเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภคเกี่ยวกับน้ามันและก๊าซ และ (2) ศึกษาการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการเป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างทุนทางปัญญาและผลการดาเนินงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภคเกี่ยวกับน้ามันและก๊าซ กลุ่มประชากรที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดระยองที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีจานวนทั้งสิ้น 156 บริษัท โดยได้เลือกศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภคเกี่ยวกับน้ามันและก๊าซจานวน 156 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0
           ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าปัจจัยทุนทางปัญญาของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภคเกี่ยวกับน้ามันและก๊าซ มีความสาคัญในภาพรวมทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ทุนทางปัญญาด้านทุนมนุษย์ที่มีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนาทักษะและความชานาญเฉพาะด้าน เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาคนและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สาหรับปัจจัยการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการมีความสาคัญในภาพรวมทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีความเห็นว่าสถานประกอบการมีการประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในกิจการอย่างต่อเนื่องทุกปี และปัจจัยผลการดาเนินงานขององค์การโดยรวมรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยมีความเห็นว่า สถานประกอบการมีการวิเคราะห์ผลการดาเนินงานและปรับปรุงการให้บริการใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า ทุนทางปัญญา มีอิทธิพลต่อการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนสมมุติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.908 (t = 33.658 ) ในขณะที่การมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการมีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานขององค์การ ข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนสมมุติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.903 (t = 13.100 ) และ ทุนทางปัญญา มีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานขององค์การ ข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนสมมุติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.01 มีค่าเท่ากับ 0.835 (t = 0.480 ) สมมติฐานการวิจัยเรื่อง “อิทธิพลคั่นกลางของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในการถ่ายทอดทุนทางปัญญาสู่ผลการดาเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัยและสาธารณูปโภคเกี่ยวกับน้ามันและก๊าซ” ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผลการทดสอบอิทธิพลทางอ้อมเชิงของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ ที่เชื่อมโยงอิทธิพลของทุนทางปัญญาสู่ผลการดาเนินงานขององค์การ มีค่าช่วงความเชื่อมั่นไม่คลุม 0 เอาไว้ แสดงว่า อิทธิพลทางอ้อมอยู่ในช่วง 0.7108-0.8809 จึงสรุปได้ว่า เส้นทางผลคูณสัมประสิทธ์เส้นทางของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยง อิทธิพลของทุนทางปัญญาสู่ผลการดาเนินงานขององค์การ มีค่าอิทธิพลทางอ้อม เชิงอนุกรมไม่เท่ากับ 0

References

กรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. 2555-2559
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553.
พนม ภัยหน่ายและคนอื่นๆ. (2542). เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง . กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิสูตร จิระดาเกิง. (2544). การจัดการงานก่อสร้าง. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
บุญฑวรรณ วิงวอน และมนตรี พิริยะกลุ. (2553).ตัวแบบเส้นทางพิแอลเอสของผลกระทบการเป็นผู้ประกอบการ ภาวะผู้นา เทคโนโลยีสารสนเทศและสัมพันธภาพเสมือนญาติต่อผลการปฏิบัติงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคเหนือของประเทศไทย.วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 23(2), 128-145.
ธัญนันท์ บุญอยู่ (2558).อิทธิพลคั่นกลางแบบอนุกรมของทุนทางปัญญาและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการดา เนินงานสา หรับอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร. ดุษฎีนิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.
Chin, W. W. (2001). PLS Graph User’s Guide Version3.0, URL:http: //www.spsspasw.ir /upload/ images/ei8gx66re11tenmq0sm.pdf, access on 08/05/2017.
Frese, M. (2000). Success and failure of microbusiness owners in Africa: A psychological approach. Westport, CT: Greenwood
Sharabati, A.-A., Nour, A.-N., & Ahamari, N. S. (2013). The impact of intellectual capital on Jordanian telecommunication companies’ business performance. American Academic & Scholarly Research Journal, 5(3), 32-46.
Tangen, S. (2005). Professional practice demystifying productivity and performance. International Journal of Productivity and Performance Management, 54(1), 34-46.
Wang, G.-L. (2012). A study of how the organizational culture of international tourist hotels affects organizational performance: Using intellectual capital as the mediating variable. The Journal of Global Business Management, 8(1), 189-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28