การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราพรีมายาไฟเบอร์รี กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าออนไลน์

ผู้แต่ง

  • วรีพร แก้วขวัญ
  • ฉัตรลดา ช้างพันธ์
  • รัชชาพรรณ พิลาดี
  • พัชรพล เลิศสกุลรุ่งเรือง
  • ทาริกา สระทองคำ
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ลูกค้าออนไลน์, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยประชากรศาสตร์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราพรีมายาไฟเบอร์รี กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าออนไลน์ และ 2) พยากรณ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราพรีมายาไฟเบอร์รี กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 405 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ T-test, One-way ANOVA และ Simple regression โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ผู้ที่เคยบริโภคและซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราพรีมายา ผ่านทางออนไลน์เท่านั้น

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ระหว่าง 21 - 26 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 - 20,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านรายได้ ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกที่พักของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ปัจจัยพฤติกรรมศาสตร์ ด้านอายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราพรีมายาไฟเบอร์รี กรณีศึกษา: กลุ่มลูกค้าออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราพรีมายาไฟเบอร์รี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. กรุงเทพธุรกิจ. (2557). ตลาดอาหารเสริมฟื้นเทรนรักสุขภาพ. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562 จาก www. bangkokbiznews.com.

2. ชุดาภา ปุณณะหิตานนท์. (2541). การสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมการรับฟังรายการเรดิโอ โนพร็อบเบล็ม สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่นความถี่ เอฟ.เอ็ม 88.0 เมกะเฮิรตซ์ ของผู้ฟังในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

3. ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และ การบริหารธุรกิจ, 1 (2) 21-39.

4. นพวรรณ มีสมบูรณ์. (2552). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านการทำการตลาดออนไลน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

5. วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. ค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6. วิไล จิระวัชร, (2548) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารกรุงไทย ในเขตอำเภอศรีราชา. ม.ป.ท.: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

8. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงสาธารณะสุข. (2557). อาหารเสริมจากปากคำผู้เชี่ยวชาญ. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562, จาก www.m-culture.go.th

9. แสวง รัตนมงคลมาศ. (2547). แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย. ค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562, Thesis.swu.ac.th,
goodlifeupdate วิธีดูแลตัวเองฉบับง่ายสาวทำงานน้อยhttps://goodlifeupdate.com/ lifestyle/63480.html

10. Marketeer, (2015). ตลาดอาหารสุขภาพ, https://marketeeronline.co/archives/81511.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01