ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับลูกค้ากลุ่มธุรกิจฟิตเนส ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา: วี ฟิตเนส, ฟิตเนส เฟิรส์ท, เวอร์จิ้น แอ็คทีฟ

ผู้แต่ง

  • ณฐมน บุตรพันธ์
  • ธันยพร หิรัญญการ
  • ธารินี คลังประเสริฐ
  • นลินทิพย์ เสียมไหม
  • นันทยาภรณ์ มหาสาโร
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์
  • ทาริกา สระทองคำ

คำสำคัญ:

ฟิตเนส, กลุ่มธุรกิจฟิตเนส, ความผูกพัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจฟิตเนสแตกต่างกัน และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจฟิตเนส การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ T-test One-way Anova และ Regression โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 213 คน (ร้อยละ 53.30) อายุ 25 - 35 ปี จำนวน 123 คน (ร้อยละ 30.80) สถานภาพโสด จำนวน 207 คน (ร้อยละ 51.80) ระดับการศึกษาปริญญาตรี/ปวส จำนวน 333 คน (ร้อยละ 83.30) อาชีพพนักงานบริษัท จำนวน 151 คน (ร้อยละ 37.80) มีรายได้30001 - 40000 บาท จำนวน 88 คน (ร้อยละ 22.00) 2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจฟิตเนสแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้ากลุ่มธุรกิจฟิตเนส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. ขนิษฐา นิ่มแก้ว. (2554). ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรในองค์การ:กรณีศึกษาสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน สามเสน. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

2. ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

3. วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). การสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้า Customer Engagement. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2562, จาก http://www.spahakuhodo.com/index.php/portal/knowledge/8/111.

4. อรอุมา ศรีสว่าง. (2544). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชน. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

5. Baron, R. A. (1986). Behavior in organization. Boston: Allyn & Bacon.

6. Mollen, Anne and Hugh Wilson. (2010). “Engagement, Telepresence, and Interactivity in Online Consumer Experience: Reconciling Scholastic and Managerial Perspectives,” Journal of Business Research, 63(9/10), 919-25.

7. Oliver, Richard L. (1997). Satisfaction: A behavioral perspective on the consumer. New York: Irwin/McGraw- Hill.

8. Yamane Taro. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24