ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคมในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิมลิน สุขสวัสดิ์
  • ณัฐฌา อิสรานุววัฒน์
  • ปฐริกาล์ กุหลาบทิพย์
  • ภูริวัจน์ อำนาจนันทสิทธิ์
  • วีรยุทธ์ สาลีฉันท์
  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์
  • ทาริกา สระทองคำ

คำสำคัญ:

ธุรกิจโทรคมนาคม, โทรคมนาคม, ความผูกพัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีความผูกพันของลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคมแตกต่างกัน 2) ศึกษาปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ Chi-Square โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 76.10 และเพศหญิง 23.70 ช่วงอายุ 26 - 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 77.60 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 81.50 มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ คิดเป็นร้อยละ 63.80 มีรายได้ต่อเดือน 22,001 - 29,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.60 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุ และรายได้แตกต่างกันมีความผูกพันของลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ปัจจัยความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าธุรกิจโทรคมนาคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

2. มริษา ไกรงู. (2553). ความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการใช้บริการรถตู้โดยสารปรับอากาศประจำเส้นทาง กรณีศึกษา: สายกรุงเทพ-เพชรบุรี (หมายเลขเส้นทางเดินรถ 73). งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

3. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2550. พฤตกิรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด

4. อุทัยพรรณ สุดใจ. (2545). ความพึงพอใจของผูใชบริการที่มีตอการให้บริการขององคการโทรศัพทแหงประเทศไทย จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมวิทยาประยุกต์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

5. Aday, Lu ann. And Andersen, Ronald. (1975). Development of indices of Access to Medical Care. Michigan: Ann Arbor Health Administration Press.

6. Davis, K. (1967). Human relation at Work. New York: McGraw-Hill Co.

7. Kotler, Philip and Armstrong, G. (2010). Principles of Marketing. 13th Edition. Pearson Education.

8. Maslow Theory. (2559). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2562, จากhttp://bearytutor.blogspot.com/2016/10/maslow.html.

9. McEwen, W. J. (2005). Married To The Brand: Why Consumers Bond With Some Brands for Life. New York: Gallup Press.

10. Taro Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory. New York: Haper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24