อิทธิพลของความพึงพอใจในงาน ในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงความไว้วางใจในองค์การ สู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต

ผู้แต่ง

  • อดิศร คงพล
  • ธัญนันท์ บุญอยู่

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจในองค์การ, ความพึงพอใจในงาน, ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความไว้วางใจในองค์การ, ความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต 2) ศึกษาความพึงพอใจในงาน ในฐานะตัวแปรคั่นกลาง ที่เชื่อมโยง ความไว้วางใจในองค์การ สู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีความไว้วางใจในองค์การ ความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงาน ที่ค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมมติฐานเรื่อง “ความไว้วางใจในองค์การ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงาน” ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน***สมมติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3) สมมติฐานการวิจัยเริ่อง “ความไว้วางใจในองค์การ มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน” ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน*สมมติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 4) สมมติฐานการวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจในงาน มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน” ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน**สมมติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 5) สมมติฐานการวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจในงาน เป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงอิทธิพลของความไว้วางใจในองค์การ สู่ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน” ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ค่าช่วงความเชื่อมั่นมีค่าคลุม 0 เอาไว้ จึงสรุปได้ว่า ค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0 จึงไม่สนับสนุนสมมติฐาน

References

1. เดชาพันธ์ รัฐศาสนศาสตร์ (2555). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลการทำงานและการคงอยู่ในงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่. ดุษฎีนิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

2. ธัญยากร อัญมณีเจริญ (2555). ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน. วิทยานิพนธ์ จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

3. มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2553.

4. Chin, W. W. (2001). PLS Graph User’s Guide Version 3.0, URL: http://www.spss-pasw.ir/ upload/ images/ei8gx66re11tenmq0sm.pdf, access on 08/05/2017.

5. Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), pp. 42-48.

6. Tammy A. Boe (2002). GAINING AND/OR MAINTAINING EMPLOYEE TRUST WITHIN SERVICE ORGANIZATIONS. University of Wisconsin-Stout
7. Timothy A. Judge, Carl J. Thoresen, Joyce E. Bono, Gregory K. Patton (2001). The Job Satisfaction-Job
Performance Relationship: A Qualitative and Quantitative Review. Psychological Bulletin 2001, Vol. 127. No. 3. 376-407 , The American Psychological Association, Inc. : 376-381.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24