อิทธิพลเชิงโครงสร้างของการเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อประสิทธิผล ในงานของอาสาสมัครวัดนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ระพีพรรณ ชอบสอาด

คำสำคัญ:

การเห็นคุณค่าในตนเอง, แรงจูงใจในการทำงาน, ประสิทธิผลในงาน, อาสาสมัคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการทำงาน และประสิทธิผลในงานของอาสาสมัคร และเพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงโครงสร้างของการเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อประสิทธิผลในงานของอาสาสมัครวัดนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครวัดนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 312 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีการตอบกลับครบทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงโครงสร้างของการเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อประสิทธิผลในงานของอาสาสมัครวัดนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในงานของอาสาสมัครวัดนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

References

1. เกศแก้ว มนต์วิเศษ. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

2. ชัยสิทธิ์ พงษ์ลิมานนท์. (2552). การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. ณธษา จันทร์หอม. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทในเครือเว้งกรุ๊ป. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

4. เดชาพันธ์ รัฐศาสนศาสตร์. (2555). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลการทำงาน และการคงอยู่ในงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่. บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

5. ธานี รวยบุญส่ง. (2552). การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศรีธัญญา. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

6. บาทหลวงวีระ อาภรณ์รัตน์. 2557. สู่ปีศักดิ์สิทธิ์. สารสังฆมณฑลเชียงใหม่, 7, 1-8.

7. มัญจกร บรรจงช่วย. (2556). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับประสิทธิผลการทำงานของตัวแทนประกันชีวิต ในทัพพสุธา เอ บริษัทเอไอเอ จำกัด (ประเทศไทย). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

8. มุรธา วิวัฒน์พาณิชย์. (2554). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเชื่ออำนาจควบคุมกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

9. วรเดช ช้างแก้ว. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

10. วราทิพย์ กิติศรีวรพันธุ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทั่วไปโรงพยาบาลชุมชนในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 11. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

11. วรุณพร แสงสิริไพบูลย์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 28. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

12. วัณย์ชนาภา จิรเมธีพันธ์. (2554). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานสงเคราะห์ จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

13. วันวิสา บุญประเสริฐ. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทรักลูกกรุ๊ป. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

14. วินิต วิไลวงษ์วัฒนกิจ. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยระดับตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

15. ศิราภิรมย์ ธีรประเสริฐ. (2555). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานและการผูกพันองค์การในองค์การธุรกิจภาคการผลิตที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากองค์การของบุคลากรกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีสำนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ปรัชญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

16. ศิริวรรณ ศิริเดชานนท์. (2557). การศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา: ศูนย์ปฏิบัติการสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่ง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

17. Cherian, J., & Jacob, J. (2013). Impact of self-efficacy on motivation and performance of employees. International Journal of Business and Management, 8(14), 80-88.

18. Elizabeth, B. K. M., & Kwesi, A. T. (2016). Employee motivation and work performance: A comparative study of mining companies in Ghana. Journal of Industrial Engineering and Management, 9(2), 255-309.

19. Fiedler, F. E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw-Hill.

20. Joannes Paulus PP. II. (1992). Pastores Dabo Vobis. Vatican: Catholic Church.

21. Lunenburg, F. C. (2011). Self-efficacy in the workplace: Implications for motivation and performance. International Journal of Management, Business, and Administration, 14(1), 1-6.

22. Reddin, W. J. (1971). Effective Management by Objectives: The 3-D Method of MBO. New York: McGraw-Hill.

23. Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24