ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เอนก ศรีนันท์
  • นิเทศ ตินณะกุล

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ 396 คน และจะทําการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ของยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

              ผลการศึกษาพบว่า

              1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาในองค์ประกอบแต่ละด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยในแต่ละด้านพบว่า ด้านวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของนโยบาย ด้านคุณสมบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านการสื่อสารและการทำให้ปฏิบัติตามนโยบาย ด้านสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง และด้านคุณสมบัติของบุคลากรผู้รับผิดชอบ อยู่ในระดับน้อยที่สุด

 2) ประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านคุณภาพของผู้สูงอายุดีขึ้นอยู่ในระดับมาก  และ ด้านเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในระดับน้อยที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี ตามสมมติฐานการวิจัยทั้ง 5 ด้าน มีอยู่ 5 ด้าน คือด้านวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานของนโยบาย, ด้านการสื่อสารและการทำให้ปฏิบัติตามนโยบาย, ด้านคุณสมบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบนโยบาย, ด้านสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง, และด้านคุณสมบัติของบุคลากรผู้รับผิดชอบของนโยบาย มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.729 จึงสามารถทำนาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 72.89

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2552). เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. วารสารแรงงาน.
กรมประชาสงเคราะห์. (2543). ระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ. 2543.
--------.(2545). ระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543.
กระทรวงมหาดไทย. (2548). แนวทางการดำเนินงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ปีพ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กระทรวงมหาดไทย. (2552). ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552.
กล้า ทองขาว. (2534). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ:กรณีศึกษานโยบายรณรงค์เพื่อการเรียนรู้หนังสอแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญา พัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา. (2550). สุขภาพคนไทย 2550. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2546, กุมภาพันธ์-มีนาคม). แวดวงประชากร. ประชากรและการพัฒนา. ม.ป.ท.
------------. (2547, สิงหาคม-กันยายน). แวดวงประชากร. ประชากรและการพัฒนา. ม.ป.ท.
------------. (2548, มิถุนายน-กรกฎาคม). แวดวงประชากร. ประชากรและการพัฒนา. ม.ป.ท.
มรกต สิงหะคเชนทร์. (2542). การประเมินผลการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุจากกรมประชาสงเคราะห์. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ระพีพรรณ คำหอม; และคนอื่นๆ. (2547). รายงานวิจัยเรื่องโครงการการประเมินผลการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.
ระพีพรรณ คําหอม และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการบริการสวัสดิการ สังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบท. www2.nesac.go.th/document/images06/06100012d.doc
ศิริวรรณ ศิริบุญ; และมาลินี วงษ์สิทธิ์. (2541). การประเมินผลโครงการนำร่องการจัดตั้งศูนย์บริการทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุ : ผลการศึกษาจากข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ:สถาบันประชากรศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. ทฤษฎี การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค, 2551.
สำนักงานบริหารการวิจัยนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (2559) ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านผู้สูงอายุและสังคมผู้สูงอายุ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
องอาจ นัยวัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
อภิญญา เวชยชัย. (2542). การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชนโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข.
Brynard, P. (2005). Policy implementation: Lessons for service delivery. Journal of Public Administration, vol. 40, no 4.1.
Cheema, Edward G.; & Rondinelli, Dennis A. (1983). Implementing Decentralozation Programmes in Asia: Local Capacity for Rural Development. Nagoya, Japan : United Nations Centre for Regional Development.
Edlund, Fall. (2010). Program Development: Van Meter – Van Horn Model. PA: 715 - Policy Making and Implementation: class reader. 76.
Weatherly, R.; & Lipsky, M. (1977). Street Level Bureaucrats and Institutional Innovation :Implementing Special-Education Reform. Harvard Education Review. 47(1).
Kerr, Donna H. (1976). The Logic of Policy and Successful Policies. Policy Sciences.
Dye, Thomas R. (1984). Understanding Public policy. 5thed. Englewood cliffs, new Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Easton, David. (1953). The Political System: An Inquiry into the of Political Science. New York: Alfred A. Knopf.
Pressman,Jeffrey L.; & Wildavsky,Aaron. (1973). Implementation. 2nd ed. California: University of California Press.
Sabatier, Paul A.; & Mazmanian, Daneil A. (1980). A Multivariate Model of Public Policy Making. American Journal of Political Science. 24:439-468.
----------. (1981). Effective Policy Implementation. Lexington: MA.: Lexington .
----------. (1983). Policy Implementation, in Encyclopedia of Policy Studie. edited Stuart S. Naget. New York: Marcel Dekker.
Van Meter & Van Horn, February. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, Vol. 6, No. 4.
Van Meter, Donald S.; & Van Horn, Carl E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society.
Vepa, Ram K. Implementation: The Problem of Achieving Result. The Indain Journal of Public Administration.(24):439-468.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24