การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอย, การจัดการ, เทศบาลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการตามหลัก 7 M’s 3) ศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามการบริหารจัดการตามหลัก 7 M’s กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการ พนักงาน และบุคลากรที่สังกัดเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อระดับการบริหารจัดการตามหลัก 7 M’s ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs และระดับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติบ่อยครั้ง การเปรียบเทียบการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพส่วนบุคคล ด้านอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพการทำงาน อายุการทำงาน และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แตกต่างกัน และการบริหารจัดการตามหลัก 7 M’s ด้านการบริหารเวลา ด้านเงิน และด้านวัสดุ อุปกรณ์ มีความสัมพันธ์กับการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
กิติมา เพียรเจริญ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนคร
สุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการศึกษาอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารัตน์ สุรักขกะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตชายหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง, มหาวิทยาลัยบูรพา.
บัญชา สิงห์คำป้อง. “รูปแบบการบริหารจัดการขยะของชุมชนบะขาม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.” การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
ประดิษฐ์ สีใส. “ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลดงเจน กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา.” สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557.
อาณัติ ต๊ะปินตา (2553, น.71)อาณัติ ต๊ะปินตา. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ, 2551.
วุฒิพงษ์ ศรีศิลป์ (2553)วุฒิพงษ์ ศรีศิลป์. “การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการขยะมูลฝอย ณ จุดเริ่มต้นโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลถืมตอง จังหวัดน่าน.” การค้นคว้าแบบอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
อุทัย ขันโอฬาร. “ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบล ศึกษากรณีองค์การบริหาร ส่วนตำบล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.” วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.
หทัยพรรณ สังข์ชู. “ประสิทธิผลในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี.” ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2557.