พัฒนาการของคนรักเพศเดียวกันท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทประวัติศาสตร์ตะวันตก
คำสำคัญ:
คนรักเพศเดียวกัน, ประวัติศาสตร์ตะวันตก, คริสตศาสนา, ขบวนการทางสังคมบทคัดย่อ
จากการศึกษางานวิจัยเรื่อง พัฒนาการของคนรักเพศเดียวกันท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทประวัติศาสตร์ตะวันตกผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของ “วาทกรรม” คือ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมได้ก่อรูปให้วัฒนธรรมยุโรปมองคนรักเพศเดียวกันว่าเป็นอย่างไรบ้างตลอดช่วงสมัยในประวัติศาสตร์ โดยสรุปผลการศึกษาว่า สังคมตะวันตกได้ “ก่อรูป” การมองอัตลักษณ์ของคนรักเพศเดียวกันออกเป็น 4 ระยะ กล่าวคือ
ในระยะที่ 1 คือระยะตั้งแต่กรีก-โรมัน สังคมในสมัยดังกล่าว มองคนรักเพศเดียวกันว่าเป็นลักษณะของชนชั้น โดยมีลักษณะยึดโยงกับเครือข่ายทางอำนาจและสังคม (hierarchy) โดยสัมพันธ์กับอายุและชนชั้น ดังเช่น ถ้าผู้ที่เป็นทาสหรือผู้ที่มีอายุน้อยจะต้องเป็นฝ่ายถูกกระทำ (passive) ผู้ที่เป็นเจ้านายหรือผู้ที่มีอายุสูงกว่าจะต้องเล่นบทบาทผู้กระทำ (active) โดยในยุคนี้จะไม่มีการจัดระเบียบแบ่งประเพศของเพศภาวะ ว่าคนคนนี้เป็น “รักต่างเพศ” (Straight) “คนรักเพศเดียวกัน” (homosexual) หรือคนรักทั้งสองเพศ (bisexual) ผู้ชายที่เป็นสหภาคีเพศ (pansexuality) จึงจะถือว่าเป็นผู้ชายที่แท้จริง (Macho) โดยความสัมพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยกรีกถูกเรียกว่า pederasty คือความสัมพันธ์ระหว่างชายโตเต็มวัยและเด็กหนุ่มแรกรุ่น
โดยในระยะที่ 2 คือ ภายหลังจากการสถาปนาศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติชองอาณาจักรโรมันแล้ว ความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันกลับถูกเปลี่ยนไป กล่าวคือ กลายเป็นความผิดบาป ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการที่ศาสนาคริสต์รับเอาวัฒนธรรมของยิวมาไว้และนอกจากนี้ศาสนาคริสต์เดิมยังเป็นศาสนาของชนชั้นล่าง ซึ่งวัฒนธรรมของชนชั้นล่างเป็นวัฒนธรรมที่ต่อต้านคนรักเพศเดียวกัน เนื่องจากก่อนหน้านั้นกรีก-โรมันมีวัฒนธรรมpederastyซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ชนชั้นสูงที่คนกลุ่มนี้เห็นว่าเป็นพวกฟุ้งเฟื้อเห่อเหิม อีกทั้งใช้เวลาหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของกามารมณ์ ดังนั้นทางรัฐบาลของอาณาจักรโรมันจึงเริ่มออกกฏหมายต่อต้านคนรักเพศเดียวกันอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังสมัยของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 (Justinian I,527-565) แห่งอาณาจักร ไบเซ็นไทน์ และผู้ก่อตั้งสำนักสงฆ์เซนต์บาซิล แห่งนิซซากล่าวว่า ถ้าผู้ชายถูกค้นพบว่ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กผู้ชายจะไม่ได้รับการยอมรับเข้าสู่พิธีศักดิ์สิทธิของชาวคริสต์แม้กระทั่งตายไปแล้ว
ส่วนในระยะที่สามวาทกรรมเกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกันได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิวัติทางการแพทย์โดยในระยะนี้มองว่าคนรักเพศเดียวกันเป็น “คนป่วย” ที่ต้องได้รับการบำบัด แต่อย่างไรก็ตามในระยะนี้ คนรักเพศเดียวกันก็ได้เริ่มมีพื้นที่เป็นของตนเองเป็นครั้งแรกจาก วัฒนธรรม “บ้านมอลลี่” คือเป็นสถานที่นัดพบปะกันของเกย์ในลอนดอน แต่วัฒนธรรมของคนรักเพศเดียวกันในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ถึงจุดสูงสุดในเยอรมันโดยแม็คนัสแฮสฟิวได้ออกวารสาร “Der Eigine”ที่กล่าวว่าการเป็นคนรักเพศเดียวกันเป็น “สัญชาติญาณธรรมชาติภายในส่วนลึก”และในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ได้มีการก่อตั้งสถาบันเพศศึกษา (Sexology) เป็นที่แรกของโลกในปี 1919หากแต่การสถาปนาอำนาจของพวกนาซ๊ก็ได้ดับฝันคนกลุ่มนี้ เนื่องจากพวกนาซีมีนโยบายต่อต้านคนรักเพศเดียวกันอย่างรุนแรง โดยมีชาวเกย์เยอรมันจำนวนมากถูกจับและถูกเข้าค่ายกักกัน
ส่วนในระยะสุดท้าย คือภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้เกิดขบวนการประชาสังคมของคนรักเพศเดียวกันขึ้นมากมาย ดังเช่นขบวนการ ซีโอซี เนเดอร์แลนด์ (COCNederland) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขบวนการแมตตาชีนในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นขบวนการที่เข้มแข็งที่สุด หากแต่สิ่งที่ทำให้ขบวนการสิทธิของคนรักเพศเดียวกันพัฒนาแบบก้าวกระโดดมากที่สุดก็คือ “เหตุการณ์สโตนวอลล์” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าไปบุกค้นคลับของชาวเกย์อันอยู่ในเมืองนิวยอร์ค ยังความโกรธแค้นแก่คนรักเพศเดียวกันเป็นจำนวนมากอย่างรุนแรงจนคนกลุ่มนี้ได้ตอบโต้โดยการก่อจราจลต่อต้านตำรวจอย่างรุนแรง และการจลาจลนี้ได้เกิดผลที่สำคัญคือทำให้เกิดเกย์ไพรด์โดยเริ่มจากลอส แอนเจอลิสและชิคาโก ต่อมาได้ขยายตัวไปในอีกหลายๆ เมืองรวมไปถึง คานาดา ออสเตรเลียและยุโรปตะวันตก และต่อมาในทศวรรษที่ 80 ก็ได้เกิดกีฬา เพลง และภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกันเป็นจำนวนมาก จนสิ่งเหล่านี้ผลักดันให้ประเทศเดนมาร์กผ่านกฏหมายการแต่งงานของเพศเดียวกันประสบความสำเร็จเป็นที่แรกในปี 1989
References
กฤตินา อาชวนิจกุล และ วรรณา ทองสีมา(2550)“ผู้หญิง” ในวาทกรรมสิทธิ์ทางเพศ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.
กาญจนา แก้วเทพและพริศราแซ่ก๊ว (2547). เพศวิถี: วันวาน วันนี้และวันพรุ่งที่จะไม่
เหมือนเดิม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.
เทอดศักดิ์ ร่มจำปา(2545)วาทกรรมเกี่ยวกับ “เกย์”ในสังคมไทย พ.ศ. 2508-2542.
วิทยานิพนธ์ สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกสารอัดสำเนา.
อมรา พงศาพิชญ์ (2548) เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
English
Abelove, Henry.,Barale, Michele Aina (1993)The Lesbian and Gay Studies Reader. New
York: Routledge.
Altman, Dennis. c1971. Homosexual: Oppression and Liberation. New York: New York
University Press.
Bailey, Derrick Sheridan.1955. Homosexuality and the Christian Tradition.London:
Lingmans, Green.
Barry D., Adam. 1987. The Rise of Gay and Lesbian Movement. Boston: Twayne
Publisher.
Betteridge, Thomas. 2002. Sodomy in Early Modern Europe. Manchester: Manchester
University Press.
Boswell, John. 1986. Christianity, Social Tolerance and Homosexuality. Chicago:
University of Chicago Press.
Cantarella, Eva. 1992. Bisexuality in the Ancient World. New Haven: Yale University
Press.
Cortese, Daniel K. 2006. Are We Thinking Straight: the Politics of Straightness in a Lesbian and Gay Social Movement Organization.Rouledge: New York.
De cecco, John P., Elia John P. c1993. If You seduce a Straight Person, can You make
them Gay? ; Issues in Biological essentialism versus Social Constructionism in
Gay and Lesbian Identities.New York Haworth Press.
En.wikipedia.org/wiki/same_sex_marriage
Foucault, Michel. 1990. History of Sexuality Vol.1 An Introduction .Trans. By Robert
Hurley. New York: Vintage Book.
Galloway, Bruce. 1983. Prejudice and Pride; discrimination Against Gay People in
Modern Britain. London: Routledge&Kegay Paul.
Gay Left Collective. 1980. Homosexual: Power&Politics. London: Allison and Busby.
Goss, Robert E. 1997. Our Family Our Values.New York: the Harrington Park Press.
Grosz, Elizabeth A. Probyn, Elspeth (ed.) 1995. Sexual Bodies: the Strange Calamities of
Feminism.London: Roultedge.
Harris, Deniel. 1997. The Rise and Fall of Gay Cultural. New York: Ballantine Books.
Hunter, Ski (ed.). Lesbian, Gay and Bisexual Youths and Adults: Knowledge for Human Services Practice. SAGE Publications: London.
Hart, John., Richardson, Diane. 1981. The Theory and Practice of Homosexuality. London:
Routledge&Kegan Paul.
Herdt, Gilbert. 1990. Third Sex, Third Gender: Beyond Sexual Dimorphism in Culture and
History.Zone Books: New York.
Huwley, John C. 2001. Postcolonial Queer: theoretical Intersections. State University of
New York Press: Albany.
Jenning, Kevin. 1994. Becoming Visible. Los Angeles: Alyson Publication.
Kirsch, Max H. 2000.Queer Theory and Social Change. Routledge: London
Marrnor, Judd. 1965. Sexual Inversion; the Multiple Roots of Homosexuality. New York: Basic
Books.
McCaaffrey, Joseph Anthony., Harting, Suzanne M. (ed.) 1972. The Homosexual Dialectic.
Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Paludi, Doyle. 1998. Sex& Gender: the Human Experience. 2nd ed. McGraw-Hill: Boston.
Pounds N.J.G. 1994.The Culture of the English People. Great Britain University Press:
Cambridge.
Plummer, Kenneth.1981.The Making of Modern Homosexual. London: Hutchinson.
Rictor, Norton. 1997. The Myth of Modern Homosexual: Queer History and Search for
Cultural Unity.London: Cassell.
Rose, Kleran. 1994. Diverse communities: the Evolution of Lesbian and gay Politics in
Ireland. Cork, Ireland: Cork University Press.
Seabrook, Jeremy. 1976. A Lasting Relationship: Homosexual and Society. London: Allen
Lane.
Spenser, Collin. 1996. Homosexuality : a History. London: Fourth Estate.
Sandfort, theo. 2000. Lesbian and Gay Studies.: an Introductionary, Interdisciplinary
Approach. London: Sage.
Weeks, Jeffrey, Holland, Janet (ed.). 1996. Sexual Cultural: Communities, Values, and
Intimacy. New York: Macmillan.
Wilkinson, James and Hughes, H. Stuart.1995.Contemporary Europe: A History. 8thed.
Prentice Hall: New Jersey.
Wilson, Paul. 1971. The Sexual of Dilemma: Abortion, Homosexuality, Prostitution and
Criminal Threshold. University of Queensland Press: Queensland.
Wood, Julia T. 1999. Gendered Lives: Communication, Gender and Culture. Third ed.
Wadsworth Publishing Company: Albany NY.