การพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, วิสาหกิจชุมชน, ชุมชนรุ่งมณีพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนรุ่งมณีพัฒนา รวมจำนวน 26 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งเป็นรูปแบบการสนทนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการวิจัย การตรวจสอบความน่าเชื่อได้ของข้อมูลโดยใช้ผู้ให้ข้อมูลหลักตรวจสอบด้วยตนเองและการตรวจสอบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของวิสาหกิจชุมชนรุ่งมณีพัฒนาด้วยเทคนิค SWOT Analysis และกำหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย TOWS Matrix
ผลการวิจัยพบว่า
- จุดเด่นของสินค้าและผู้ประกอบการ คือ มีสินค้าได้รับรางวัลมาตรฐานคุณภาพ OTOP 4 ดาว มีลูกค้าประจําที่เป็นลูกค้ารายย่อยสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องและเป็นลูกค้าบริษัทสั่งซื้อปริมาณมาก มีการจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนถูกต้องตามกฏหมาย สร้างเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต หรือเพิ่มมูลค่าในสินค้า บันทึกบัญชีรายจ่าย-รายรับ การตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์
- แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนรุ่งมณีพัฒนา ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้ผลิตให้มีความรู้เรื่องการทำบัญชี การคำนวณต้นทุนและวิธีการลดต้นทุนในการผลิตสินค้า (2) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจัดทำคลังรูปแบบสินค้า ลักษณะของสินค้า ลวดลายสินค้าและวิธีการการจับคู่วัตถุดิบ สี รูปทรง ลวดลายของผลิตภัณฑ์แต่ะละประเภท/ชนิดของชุมชนเพื่อให้ผู้ผลิตสินค้านำไปใช้ได้ในทันที (3) พัฒนาความรู้และทักษะความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ (4) สร้างสรรค์สินค้าให้มีเอกลักษณ์เฉพาะสร้างความแตกต่าง ความหลากหลาย (5) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์และการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ (6) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนยื่นขอการรับรองมาตรฐานสินค้า
References
กรรณิการ์ สายเทพและพิชญา เพิ่มไทย. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการส่งออกของกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ
สมัยใหม่. 10(2). 1-11.
ชัญญา แว่นทิพย์และคะนอง พิลุน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์
OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายของอำภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการเมืองการ
ปกครอง. 6(1), 66-81.
ทิชากร เกษรบัว. (2556). แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product:
OTOP) เพื่อการส่งออกในตลาดอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 30(2), 155-174.
ทวีป บุตรโพธิ์. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และประชารัฐ. ค้นเมือวันที่ 20 พฤษภาคม
, เข้าถึงได้จาก www.dsdw2016.dsdw.go.th
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9(2), 33-50.
ปาริชาติ เบ็ญฤทธ์. (2551). การจัดการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษากลุ่มดอกไม้ใบยาง จังหวัด
ปัตตานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(1), 7-26.
ปานศิริ พูนพลและทิพวรรณ พรมลาย. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้ประกอบการ
ผลิตภัณฑ์ OTOP (ระดับ 1-5 ดาว) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 7(พิเศษ), 23-
พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนลํ้า ชมพูนุท โมราชาติและกัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพการดําเนินงาน
กลุ่มหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
(2), 207- 238.
ภัทร พจนพานิช. (2564). การพัฒนาประเทศตามนโยบาย 4.0. ค้นเมือวันที่ 20 พฤษภาคม 2564,
เข้าถึงได้จาก www.dsdw2016.dsdw.go.th
ราชกิจจานุเบกษา. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). ค้นเมือวันที่ 20 พฤษภาคม 2564,
เข้าถึงได้จาก www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ. (2560). กลยุทธ์สินค้าวิสาหกิจชุมชนของผู้ประกอบการเขตอำเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 5(2). 27-41.
สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัด
สมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 7(2), 155-166.
สุรีย์ เข็มทอง. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาดการท่องเที่ยว และการโรงแรม. เอกสาร
การสอนชุดวิชาการจัดการการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว และการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (16)
ประเด็น เศรษฐกิจฐานราก (พ.ศ.2561-2580) ค้นเมือวันที่ 20 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก
http://nscr.nesdc.go.th/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%
A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0
%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%9
%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95/
สมบูรณ์ ขันธิโชติและชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2558). การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัดนนทบุรี:
กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1), 125-135.
อุดมศักดิ์ สารีบัตร. (2549). เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Fuller, G. W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. CRC Press, Inc.
USA: Boca Raton, Florida.
Kotler, P. and Armstrong, G. (2012). Principles of Marketing (14th Ed.). Boston: Pearson.
Prentice Hall.
Osterwalder, A. and Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation. New Jersey: John
Wily and Sons. Inc.