ความพึงพอใจและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง

ผู้แต่ง

  • ดารณี ดวงพรม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชลิดา ศรีสุนทร
  • อรรณพ ต.ศรีวงษ์

คำสำคัญ:

เกลือสินเธาว์, บรรจุภัณฑ์, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าจากเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง  จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย

ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 ปี -50 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระและแม่บ้าน/พ่อบ้าน มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ผลการวิเคราะห์จากคุณลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ด้านหลังการใช้และการกำจัดบรรจุภัณฑ์ ด้านการจัดเก็บ และด้านการเปิดและปิดใหม่ของบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ ในขณะที่ ด้านการถ่ายเทสินค้า ด้านความคงทน  และด้านความสะดวกในการถือ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเกลือสินเธาว์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และด้านตราสินค้าผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์

References

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน . 2555 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ชัยยุทธ จันทองอุ่น. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2562) สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/decoding-the-success-of-thai-local-brand/.

ประภัสสร คุ้มตระกูล. (2559). แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สบู่เหลวน้ำผึ้งชันโรง วิสาหกิจชุมชนกระแจะจันท์ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี (พ.ศ.2561-2565) สืบค้นจาก http://www.udonthani.go.th/main/strategy/.

ลัดดา วรรณขาว. (2550). การเพิ่มมูลค่าจากผลผลิตจากทรัพยากรเกลือเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพความงามและสร้างชุมชนสปาในพื้นที่. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

Kotler, Philip. 2003. Marketing Management. 11th ed. Northwestern University:

Prentice-Hall.

Kotler and Armstrong. 2006. Principles of marketing, (11th Ed.) Upper Saddle River: New Jersey: Prentice-Hall.

Stokes, D. and N. Wilson. (2006) Small Business Management and Entrepreneurship. 5th ed. London: Thomson, pp 101.

Schumpeter. (1934). The Theory of Economic Development. (reproduced, New your: 1961). Cambridge: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-19