แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟชบุ๊กของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชลิดา ศรีสุนทร วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดารณี ดวงพรม
  • อรรณพ ต.ศรีวงษ์

คำสำคัญ:

เฟชบุ๊ก, การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์, แนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟชบุ๊กของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และเป็นแนวทางในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายของวิสาหกิจชุมชนในการใช้เครื่องมือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟชบุ๊ก โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟชบุ๊ก จังหวัดอุดรธานี  จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ มีรายได้เฉลี่ย 15,000 – 25,000 บาทต่อเดือน และช่องทางออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างส่วนมาก คือ เฟชบุ๊ก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์         เฟชบุ๊ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คือ ด้านความบันเทิง ด้านการปฏิสัมพันธ์  ด้านความนิยม ด้านการตลาดแบบปากต่อปาก ด้านความไว้วางใจ และปัจจัยคุณภาพของระบบสารสนเทศ คือ ด้านคุณภาพระบบและด้านคุณภาพข้อมูล แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย วิสาหกิจชุมชนควรสร้างเนื้อหาความบันเทิงของร้านค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ทางเฟชบุ๊ก เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากซื้อ ดึงดูดความสนใจ สร้างการมีส่วนร่วมในการพูดคุย ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณภาพของระบบสารสนเทศ เฟชบุ๊กต้องมีความเสถียร ไม่มีการติดขัด และเข้าถึงง่าย

References

จิดาภา ทัดหอม.(2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศ

ที่มีผลต่อการ ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟชบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของ ผู้บริโภคออนไลน์ ในกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐพัชร์ ล้อประเสริฐ. (2549). สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่ม ผลผลิต

แห่งชาติ.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2561).เกลืออุตสาหกรรม ริมทาง ที่บ้านดุง.ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก

https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_56811

ธนพงศ์ กำเหนิดชูตระกูล และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ปัจจัยการบอกต่อการจัดอันดับและการวิจารณ์

สินค้า คุณภาพของข้อมูลและการบริการที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการขายเสื้อผ้า

แฟชั่นผ่านทางสังคมออนไลน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (S-commerce) ในเขต กรุงเทพมหานคร.

ในการประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงแรม

ริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น.

ธันยา ศิริลาภพานิช และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน สิ่งเร้า และ การ

ยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่องของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6. นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

พงศกร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การรับถึงรู้ความเสี่ยง เครื่องหมาย รับรอง

ความน่าเชื่อถือ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6. นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

พิศุทธิ์ อุปถัมภ์ และนิตนา ฐานิตธนกร. (2557). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ที่

ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์. ในการประชุมเสนอ ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตใน

ประเทศไทย ปี 2563. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

Daugherty, T., Eastin M.S., & Bright, L. (2008). Exploring consumer motivations for creating

user-generated content. Journal of Interactive Advertising, 8(2), 16- 25.

Social media marketing efforts of luxury brands: Influence on brand equity and consumer behavior. Journal of Business Research, 5833 – 5841

Moorman, C., Deshpande, R., & Zaltman, G. (1993). Factors affecting trust in market research

relationships. J. Marketing, 81–101.

Muntinga, D.G., Moorman, M., & Smit, E.G. (2011). Introducing COBRAs; Exploring motivations

for brand-related social media use. International Journal of Advertising, 30, 13-46

Schmenner, R.W. (1986). How can service businesses survive and prosper. Sloan

Management Review, 27(3), 21.

Seddon, P.B. (1997). A respecification and extension of the Delone and McLean model of IS

success. Information Systems Research, 240, 240–253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21