ปัญหาทางกฎหมายในคดีพิพาทระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับอาจารย์ประจำ ศึกษากรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเลิกจ้างอาจารย์ประจำ

ผู้แต่ง

  • เนติ ปิ่นมณี

คำสำคัญ:

บริการสาธารณะด้านการศึกษา, การเลิกจ้างอาจารย์ประจำ, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

           บทความนี้จะศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายในคดีพิพาทที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเลิกจ้างอาจารย์ประจำ ซึ่งมีรูปแบบของมูลคดีพิพาทสามรูปแบบ คือ มูลคดีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเลิกจ้างอาจารย์ประจำอันเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครอง (คำสั่งลงโทษโดยการเลิกจ้างอาจารย์ประจำ) มูลคดีพิพาทที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเลิกจ้างอาจารย์ประจำอันเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง และมูลคดีพิพาทในรูปแบบสุดท้าย คือ มูลคดีพิพาทที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเลิกจ้างอาจารย์ประจำอันเนื่องมาจากสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าสถานะของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นิติสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเอกชนกับอาจารย์ประจำมีลักษณะผสม (Hybrid Status) ในระบบกฎหมายมหาชนและระบบกฎหมายเอกชน ในการจำแนกว่าคดีพิพาทที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเลิกจ้างอาจารย์ประจำจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือศาลแรงงาน จะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเลิกจ้างอาจารย์ประจำนั้น ว่าเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ประจำที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมทางกฎหมาย (Merit) ในด้านประสิทธิภาพของบริการสาธารณะโดยตรงหรือไม่

References

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายปกครองเกี่ยวกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). สัญญาทางปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2561). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์วิญญูชน.

พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น. (2561). คำอธิบายกฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 11).

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

สุรพล นิติไกรพจน์. (2559). มหาวิทยาลัยไทย: พัฒนาการมหาวิทยาลัยในกำกับและกฎหมายที่เกี่ยวกับการ

บริหารงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อักราทร จุฬารัตน์. (2549). การตีความกฎหมาย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์กฎหมายไทย.

Federick Eby and Charles Flinn Arrowood. (1958). The History and Philosophy of Education.

Prentice-Hall, Inc.

Seema Jhingan, Rupal Bhatia and Saurabh Chaturvedi. (2016). India: Is Imparting of ‘Education’ by Private Education Institution a ‘public Function’ and its implication. [Online]. Retrieved from: mondaq.com/india/x/469984/Education/Is+Imparting+Of+Education+By+Private+Educational+Institutions+A+Public+Function+And+Its+Implications [2019, January 12].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08