การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธปรัชญาในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
คำสำคัญ:
การดำเนินชีวิต, พุทธปรัชญา, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินชีวิต 2) ศึกษาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ 3) การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธปรัชญาในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผลักให้ผู้คนทั่วโลกเข้าสู่การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ทุกด้าน เรียกว่า “New Normal”หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่มาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ สำหรับโรคไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ถือว่าเป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้ เป็นสายพันธุ์ที่ 7 เรียกชื่อว่า “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” ซึ่งยังไม่เคยพบมาก่อน ต่อมาถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) ส่วนการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธปรัชญาในยุคการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราสามารถใช้พุทธปรัชญากล่าวคือความไม่ประมาท ความสามัคคีและ ปรโตโฆสะ เพราะหลักพุทธปรัชญาทั้ง 3 เป็นแนวทางในการที่จะดำเนินชีวิต เพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง เสริมความเข้มแข็งในการเผชิญอุปสรรคและมีความมั่นคงในการไตร่ตรองสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำเฉียบคม
References
เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา. (2526). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2021). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤตโควิด-19. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 11(2), 317-327.
พระมหาทวี มหาปญฺโญ. (2555). พุทธปรัชญา: โลกทัศน์เกี่ยวกับโลกและชีวิตของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: GotoKnow.
พระมหาสุริยะ มทฺทโว. (2021). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการรับมือปัญหาโรคระบาด COVID-19. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 323-332.
พระมหาอดิศร ถิรสีโล. (2559). พุทธปรัชญา: ประวัติความเป็นมาและแนวคิดทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โอเดียน
พระสุริยะ ปภสฺสโร (สะพานทอง). (2021). บ่อเกิดความ รู้ในพุทธปรัชญา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(1), 63-72.
ฟื้น ดอกบัว. (2556). พุทธปรัชญาแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ศยาม.
ภาสกร ดอกจันทร์, รพีพร ธงทอง และ สุรพล พรมกุล. (2563). การสร้างความปรองดองของประชาชนในจังหวัดเลย ตามหลักธรรม ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก, วารสาร วิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 87-96.
วิโรจน์ วิชัย, พระครูประวิตร วรานุยุต ธมฺมวโร, และ พระวิสิทธิ์ฐิต วิสิทฺโธ. (2562). มโนทัศน์ปรัชญาการศึกษาเชิงพุทธ, วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 272-287.
ศิริจรรยา เครื่อวิริยะพันธ์ และ โอปอลล์ สุวรรณเมฆ. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่น แซท. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 23-43.
สังข์วาล เสริมแก้ว. (2021). งานวิจัย การศึกษาเชิงวิเคราะห์ พระคาถาธรรมบท เล่ม 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์, 4(2), 821-825.
สมัคร บุราวาศ. (2552). พุทธปรัชญา มองพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศยาม
สุเชาวน์ พลอยชุม. (2549). พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อธิเทพ, & ผาทา. (2552). กุศโลบาย: ศึกษาการใช้ปัญญาเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอกก์ ภทรธนกุล. (2558). รายงานการสัมมนา“Flagship for Innovative Wisdom” งานครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ.
Giddens, A. (1991). Modernity and self-identity: self and society in the late modern age. Cambridge: Polity Press.
Kasatpibal N. Cultivation of the publicmind in the prevention and control of infectious diseases. J Chulabhorn Royal Acad. 2021Jul.2021. 3(3):119-37.
Ropke, I. (1999). The Dynamics of Willingness to Consume. Ecological Economics. 28(3), 399-420.
Spaargaren, G., and B. VanVliet. (2000). Lifestyle, Consumption and the Environment: The Ecological Modernisation of Domestic Consumption. Environmental Politics. 9(1), 50-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-01-27 (2)
- 2022-01-04 (1)