แนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ในรูปแบบห้องเรียนหลากหลายวัย

ผู้แต่ง

  • สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์ Dusit Thani College

คำสำคัญ:

การศึกษา, ผู้สูงอายุ, ห้องเรียนหลากหลายวัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาด้านการศึกษาเรียนรู้ ของผู้สูงอายุไทย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดในการจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะ-การเรียนรู้ และแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ในรูปแบบห้องเรียนหลากหลายวัย โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลผ่านการทบทวนเอกสารหลักฐานและการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาในครั้งนี้มี ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จำนวน 12 ท่าน และผู้ให้ข้อมูลเสริม อีก 3 ท่าน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลตามการจำแนกชนิดของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประเด็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ผู้สูงอายุประชากรไทยประสบ ในการศึกษาเรียนรู้ในช่วงสูงอายุ มากที่สุด คือ เรื่องสุขภาพทางกาย รองลงมา คือเรื่องการเรียนรู้จดจำ และอุปสรรคด้านการเดินทาง 2) ประเด็นด้านแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบของการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันที่ผู้สูงอายุชื่นชอบมากที่สุด คือ การเรียนรู้ในชั้นเรียน กลุ่ม-ชมรม เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน ตามความสนใจเป็นหลัก เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา วิชาที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันหรือการประกอบอาชีพ และ 3) ประเด็นด้านแนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ในรูปแบบห้องเรียนหลากหลายวัย พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องของหัวข้อการเรียน และบรรยากาศในการเรียน สถานที่ สภาพแวดล้อมของการจัดการศึกษา รองลงมา คือ ครูหรือผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ควรมีประสบการณ์ตรง โดยเป็นคนที่เอาใจใส่ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ ให้โอกาสในการเรียนรู้ในระดับที่เหมาะสมกับวัยและทักษะในการเรียนของแต่ละคน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2561 ด้วยระบบ Power Bi / pdf. สืบค้น เมื่อ 22 กันยายน 2563 จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1550973505-153_0.pdf

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา. (2554). ระบบการศึกษา..นับหนึ่งใหม่ยังไม่สาย (แต่ต้องรออีก 25 ปี). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://xn--l3cz3ajb3d4g.com/?p=2082

นันทภา ปัญญารัตน์. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นาการ เปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสาหรับแม่ชีไทย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การศึกษานอกระบบโรงเรียน กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์, นุชนารถ สุนทรพันธุ์ และนวลละออ แสงสุข. (2547). ความรู้เบื้องต้นด้านการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภิญโญ สาธร. (2521) หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554. บริษัท พงษ์พาณิชย์เจริญผล จำกัด.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การศึกษาตลอดชีวิต. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 14(26), 159-175.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2555). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563 จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556) การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553- พ.ศ. 2583, สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563 จากhttp://doh.hpc.go.th/data/plan59/ThaiPopForecast2553_83.pdf

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2556). คัมภีร์ กศน. หน่วยศึกษานิเทศก์

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน จำกัด เอ็น.เอ.รัตนะ เทรดดิ้ง

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12. (2556). รายงานการวิจัย ทิศทางการให้บริการของธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่จะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2556

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์ และ ปวีณา ลี้ตระกูล. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒิพลัง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยวัยที่สามนครเชียงราย. วารสารครุพิบูล. 7(1) : 48-61

อมราภรณ์ หมีปาน. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่องทางวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก. 10(2) : 47-57

Corley, M. A. (2008). Adult Learning Theories. Diperolehi pada Ogos, 3, 2009.

Knowles, M. (1970). The modern practice of education: Andragogy versus pedagogy. New York, NY: Cambridge Book Company.

Miller, B. (1990). A review of the quantitative research on multigrade instruction. Research in Rural Education, 7(1), 1-8.

Sandhu, J., Damodaran, L., & Ramondt, L. (2013). ICT skills acquisition by older people: motivations for learning and barriers to progression. International Journal of Education and Ageing, 3(1), 25-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-26