การจัดกลุ่มจังหวัดตามสถิติด้านการท่องเที่ยวรายภูมิภาค ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
คำสำคัญ:
สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19, การวิเคราะห์จัดกลุ่มจังหวัดตามสถิติด้านการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มจังหวัดและหาคุณลักษณะของกลุ่มตามสถิติด้านการท่องเที่ยวรายภูมิภาคภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการ การจัดกลุ่มจังหวัดใช้เทคนิคการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster analysis) วิเคราะห์ตามรายภูมิภาค ผลการศึกษาในแต่ละภูมิภาคมีผลการจัดกลุ่มคล้ายกันคือจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มจังหวัดได้แก่ 1) กลุ่มจังหวัดที่เป็นเมืองหลักในแต่ละภูมิภาค กลุ่มจังหวัดนี้เป็นเป้าหมายหลักของนักท่องเที่ยว มีจำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวสูงที่สุดทั้งนักท่องเที่ยวคนไทยและชาวต่างชาติ 2) กลุ่มจังหวัดทางเลือกซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแต่ละภูมิภาค เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวสูงรองลงมาจากกลุ่มแรก มีคุณลักษณะเป็นจังหวัดขนาดกลางที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นเป็นธรรมชาติหรือวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดนี้จึงเป็นทางเลือกอันดับต้นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามของประเทศไทย 3) กลุ่มจังหวัดใกล้เคียงที่เดินทางไปกลับได้หรือจังหวัดที่อยู่ไกลจากเมืองหลักในแต่ละภูมิภาค เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวน้อย มีจำนวนการเข้าพักน้อย จังหวัดในกลุ่มนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายแต่อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอาจจะเนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางหรือการไม่มีข้อมูลมากนักในการสืบค้นออนไลน์หรือประชาสัมพันธ์
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงการท่องเที่ยว
และกีฬา. (2562). รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, ฉบับที่ 1, ปี 2562.
ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล, และ เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์. (2552). การจัดประเภทหมู่บ้านชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลักษณะของทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 5, เล่มที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม, 16-40.
ประเสริฐ ใจสม, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, ปฏิญญา บุญผดุง, และ เอื้อพร ทิพยทิฆัมพร. (2563). บุพปัจจัยของความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเมืองรอง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์), 133-144.
วิโรจน์ ยอดสวัสดิ์, สาโรช ปุริสังคหะ, และ วิมล กิตติรักษ์ปัญญา. (2560). การสร้างตัวแบบนักท่องเที่ยวภายในประเทศโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มและกฏความสัมพันธ์ กรณีศึกษา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 27, ฉบับที่ 4 ต.ค.-ธ.ค., 828-841.
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. (2564). COVID-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ปัญหา. UWV Policy Brief Tourism, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1.