ความต้องการและแนวทางในการเรียนรู้ของครูวัยก่อนเกษียณในเขตจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • เชาวนี แก้วมโน -

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ , ครูวัยก่อนเกษียณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ  เพื่อศึกษาความต้องการในการเรียนรู้ และแนวทางในการจัดการเรียนรู้ก่อนวัยเกษียณของครูที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดสงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตจังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม

          ผลการวิจัยพบว่า  ความต้องการในการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านสุขภาพอนามัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.97 และด้านอาชีพมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.55  และสำหรับแนวทางในการจัดการเรียนรู้  ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง การดูแลในเรื่องสุขภาพอนามัย ทำกิจกรรมทางสังคม มีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนในวัยเดียวกันได้  การฝึกอาชีพ ควรมีตลาดรองรับ มีแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ และองค์กรที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุน

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ (2563).ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563. https://www.dop.go.th/th/know/1

กัญญณัฐ โภคาพันธ์ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะทำงานภายหลังเกษียณอายุราชการของข้าราชการ กรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดชา หวังมี. (2549). ความต้องการในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชนบท : กรณีศึกษาจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญรัตน์ คชฤทธิ์. (2550). ความเห็นของประชาชนในการบริหารจัดการ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดรัง กิ่งอาเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปณิธาน วัฒนพานิชกิจ. (2548). ความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2554. สืบค้น 20 ตุลาคม 2550. http://thaitgri.org/?p=37060

วิทยากร เชียงกูล. (2553). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2551/2552 บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2559). สถิติครูในจังหวัดสงขลา. สืบค้น 30 ธันวาคม 2559. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/

ศิริชัย รินทะราช. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรสีห์ ประสิทธิ์รัตน์. (2558). ชีวิตหลังเกษียณของข้าราชการครู. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานข้าราชการพลเรือน (2565). สรุปจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกษียณอายุราชการ. สืบค้น 6 กันยายน 2565. https://otepc.go.th/th/content_page/43-annual-report.html

แสนคำนึง ตรีฤกษ์ฤทธิ์ และคณะ. (2557). คุณภาพชีวิต และการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของข้าราชการครู จังหวัดชลบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) ปีที่ 35 : 460-471.

Sekaran, U. and Bougie, R. (2010). Research Methods for Business.5th ed. UK:John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-01