แนวทางการพัฒนาเกณฑ์ประเมินศักยภาพที่ดินเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

ผู้แต่ง

  • ชัญญรัชต์ นิธิธีรพัชร์ สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วรรณิศา นาวาล่อง สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาเกณฑ์การประเมิน, การพัฒนาที่อยู่อาศัย, ผู้มีรายได้น้อย, ศักยภาพที่ดิน

บทคัดย่อ

ที่ผ่านมาภาครัฐทำการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดปัญหาความแออัด   และการรุกล้ำพื้นที่ แต่ยังคงพบปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลือกที่ดินที่พัฒนาโครงการ
ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากไม่มีการประเมินศักยภาพที่ดินสำหรับพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยก่อนพัฒนาโครงการ ทำให้การใช้ประโยชน์ในที่ดิน ขาดประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ประเมินศักยภาพที่ดินเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนแออัด จำนวน 5 ราย จากชุมชนแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 แห่ง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย  พบว่า คุณลักษณะของที่ดินที่มีศักยภาพในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ประกอบด้วย 1) ที่ดินควรอยู่ห่างจากถนนสายหลักในระยะไม่เกิน 1.00 กิโลเมตร และควรมีแหล่งงานประเภทย่านการค้า รวมถึงมีวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ศูนย์เด็กเล็ก ตลาดชุมชน/ร้านสะดวกซื้อ โรงเรียนของรัฐ และโรงพยาบาลของรัฐ ในระยะรัศมีไม่เกิน 1.00 กิโลเมตร 2) ควรมีแหล่งงานประเภทโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงมีท่าเรือขนส่งสินค้า และสวนสาธารณะ ในระยะรัศมี 1.01-2.00 กิโลเมตร 3) ควรมีแหล่งงานประเภทศูนย์ราชการ รวมถึง มีท่าเรือโดยสาร และแหล่งเรียนรู้/ศูนย์นันทนาการ ในระยะรัศมี 2.01-5.00 กิโลเมตร 4) ควรมีแหล่งงานประเภทอาคารสำนักงาน ในระยะ 5.01-10.00 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เอ็มอาร์ที แอร์พอร์ตเรลลิงค์ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระยะรัศมี 10.00 กิโลเมตร ทั้งนี้ จากเกณฑ์การประเมินศักยภาพที่ดิน    เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย จำนวน 16 ข้อ กรณีที่ดินมีคุณลักษณะตรงตามที่กำหนดไว้จะมีค่าคะแนนเท่ากับข้อละ 1 คะแนน โดยมีคะแนนรวมเท่ากับ 16 คะแนน ซึ่งหากคะแนนรวมต่ำกว่าร้อยละ 60 (ไม่ถึง 10 ข้อ จาก 16 ข้อ) ถือว่าที่ดินไม่มีศักยภาพ และหากคะแนนรวมอยู่ระหว่างร้อยละ 80-100 (13-16 ข้อ จาก 16 ข้อ) ถือว่าที่ดินมีศักยภาพสูงมาก

References

กัณฐกร อู่อ้น และ ปรีชญะ โรจน์ฤดากร. (2559). “แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยสีเขียวชุมชนคลองหนึ่งพัฒนา.” วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 23(2), 42-57.

การุณย์ เดชพันธุ์. (2559). โครงสร้างมูลค่าที่ดินในพื้นที่คลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.

(การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.

ขจรศักดิ์ ไชยวงค์. (2560). แนวทางการเลือกทำเลที่ตั้งสาขาของศูนย์การค้ามหสรรพสินค้า. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.

จันทวร อุดมลาภประสิทธิ์. (2562). การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อย. สืบค้นจาก https://thinkofliving.com/ article/การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อย-316302.

ธนิตา กาญจนวิไล. (2562). แนวทางการพัฒนาโครงการอาคารพักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยโดยภาคเอกชน กรณีศึกษา ชุมชนคลองเตย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.

ลักษณา ทรัพย์สมบูรณ์. (2551). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในอำเภออัมพวา

จังหวัด สมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาสุขศึกษา.

วรรณิศา นาวาล่อง. (2564). การประเมินศักยภาพที่ดินเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย

ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.

วิชญ์วิสิฐ พรหมดา, ธีราพร ทองปัญญา และ ชลิตา บัณฑุวงศ์. (2563). “ผลกระทบจากโครงการพัฒนา

ที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง กรณีศึกษา ชุมชนริมคลองถนนฝั่งตะวันตก กรุงเทพมหานคร.”

วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 39(1), 73-88.

สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล, อิศเรศ วีระประจักษ์ และการุณย์ เดชพันธุ์. (2559). “การพยากรณ์มูลค่าที่ดินเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี.” วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 12(2), 111-132.

สุกุลพัฒน์ คุ้มไพศาล. (2564). วิธีการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์สำหรับนักพัฒนามือใหม่. สืบค้นจาก https://www.terrabkk.com/ articles/199427.

Ahmadipour, Zahra & Tabar, Meysam Mirzaei. (2018). “Urban geopolitics and explaining the concept of rivalry.” Geography and Environmental Planning. 29(2), 13-34.

Blei, Alejandro M. et al. (2018). Urban expansion in a global sample of cities, 1990 – 2014. Massachusetts: Lincoln Institute of Land Policy.

Gutman, Abraham, Moran-McCabe, Katie, & Burris, Scott. (2019). “Health, housing, and the law.” Northeastern University Law Review. 11(1), 251-314.

Kisiala, Wojciech, & Racka, Izabela. (2021). “Spatial and statistical analysis of urban poverty for sustainable city development.” Sustainability. 13(858), 1-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-11