คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล อุตส่าห์ -

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิด ตามหลักการของ Richard E. Walton เป็นกรอบในการวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ ค่าที (Independent sample t-test) และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ (Fisher’s Least Significance Difference: LSD)                  

          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 เมื่อพิจารณา    เป็นรายด้าน ผลปรากฎว่า ด้านการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.96 และด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.28  และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ และระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผลทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  สำหรับแนวทางการจัดการคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในคลอง บางปลากด คือ หน่วยงานควรมีการส่งเสริมให้บุคลากรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในหน่วยงาน และขยายผลถึงครอบครัว เพื่อให้สามารถมีรายได้เพียงพอกับค่าครองชีพและหน่วยงานควรรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรในทุกระดับ โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เสนอความคิดเห็น เพื่อจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น              

References

กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน. (2547). การคุมครองแรงงานในภาคการเกษตร. [ออนไลน์].

ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566.จากhttps://www.labour.go.th/th/doc/law/agricultural_2547.pdf.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2550). สภาพแวดล้อมการบริหารกับการพัฒนาองค์การ ในเอกสารการสอนชุดหน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธเนศพล อินทร์จันทร์. 2563. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี

จังหวัดนครปฐม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร 11(2): 53-61.

พิศโสภา ทีฆาวงค์. 2560. คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พิชิต เทพวรรณ์. (2555). A–Z เครื่องมือการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

รัชนก สุดใจ, ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และ วิเชียร วิทยอุดม. 2563. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร

เทศบาลในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร

บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 8(1): 73-83.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊ค พับลิชซิ่ง.

สมยศ นาวกีาร. (2550). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ.

สุจิตรา อรุณมาก. 2559. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด

นครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำราญ จูช่วย. 2554. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

Bennett, N. 1975.Population Growth, Individual Demographic Decision, and Quality of Life. Bangkok: Population Education Project, Mahidol University.

Swamy, D. R., T. S. Nanjundeswaraswamy, and S. Rashmi. 2015. Quality of Work Life: Scale

Development and Validation. International Journal of Caring Sciences 8 (2): 281-300.

Skrovan, D. J. 1983. Quality of Work Life: Perspective for Business and the Public Sector.

Massachusetts: Addison–Wesley.

The WHO Group. 1995. The World Health Organization quality of life assessment (WHOQOL)

:Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine: 1403-9.

UNESCO. (1981). Indicator of Environmental Quality and Quality of life. Research and Social

Science. No 38. Paris.

Walton, R. 1974.QWL indicators-Prospects and problems. In A. Portigal (Ed.). Measuring the quality of working life. (pp.57-70). Ottawa: Department of Labour.

Yamane, T. 1973. Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and

Row Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-30