การพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • จันทิมา แสงแพร -

คำสำคัญ:

ปัจจัยเกื้อกูล, คุณค่าตนเอง, ผู้สูงอายุ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา                                                                               ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี มี 5 ด้าน 1) ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2) ด้านความมั่นคงและปลอดภัย มีการเรียนรู้วิธีการประกอบอาชีพต่าง ๆ 3) ด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัวและคนในสังคมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ 4) ด้านการได้รับการยกย่อง จัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุ 5) ด้านการต้องการพัฒนาตนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา                                                                 การพัฒนาปัจจัยเกื้อกูลต่อการเห็นคุณค่าตนเองของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวพระพุทธศาสนา 5 ด้าน 1) กิจกรรมอาหารกาย อาหารใจ เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านมาตรฐานคุณภาพชีวิต 2) กิจกรรมความพอเพียง เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านความสุขในการดำรงชีวิต 3 กิจกรรมเทคนิค  การเชื่อมสัมพันธ์ เกื้อกูลคุณค่าด้านความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ 4) กิจกรรมแสดงความสามารถด้านภูมิปัญญา เกื้อกูลคุณค่าตนเองด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ 5) กิจกรรมปฏิบัติธรรมตามวัยให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าตนเองด้านคุณความดี คือ การบรรลุซึ่งศีลธรรม และด้านพลังอำนาจ คือ การมีอิทธิพลต่อตนเองและผู้อื่น                                                                                    รูปแบบฯ มีกระบวนขั้นตอนเรียกว่า “ระดับการศึกษา 4 ขั้น” ระดับปฐมาวุโส หรือ มีความรู้ กล่าวคือ มีความรู้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีด้านร่างกายและจิตใจ ระดับทุติยาวุโส หรือ อยู่เป็น กล่าวคือ การเรียนรู้ในการสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง ระดับตติยาวุโส หรือ เห็นปัญญา กล่าวคือ การรับรู้ความสามารถตนเองด้านภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ระดับจตุราวุโส หรือ การพัฒนาตน แบบรอบด้าน ทั้ง พฤติกรรม จิต และปัญญา ระดับการศึกษา 4 ขั้น ที่ทำให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าของตนเอง ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า SCCL MODEL

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ, (2560). คู่มือดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ, เอกสารอัดสำเนา.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). แผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565, (ม.ป.ป.) หน้า 6.

กรมสุขภาพจิต (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง), พิมพ์ครั้งที่ 6,นนทบุรี : โรงพิมพ์

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2561) สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-

, ม.ป.ท..

เทศบาลตำบลสระลงเรือ. (2564). โรงเรียนผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก https://salongr

uea.go.th/public/list/data/datacategory/catid/3/menu/1196.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). อายุยืนอย่างมีคุณค่า, กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด, (ม.ป.พ.),

พระสุทธิสารเมธ, ดร.และคณะ. (2560) การพึ่งตนเองของผู้สูงอายุตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท ในชุมชน

อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. Journal of Yanasangvorn Research Institute. Vol.11

No.2 (July – December 2020), หน้า 2-11.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ฉบับฉลองพระชนมายุ 90 พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด้จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (สุวฑฺฒนมหาเถระ) .เล่มที่ 36 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย 2546.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ดัชนีพฤฒิพลังผู้สูงอายุไทย.กรุงเทพมหานคร : บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จํากัด.

Bandura, (1963). (2557) อ้างใน ดวงกมล ทองอยู่, ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตน, วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557.

Coopersmith, S. (1984). SEI: Self-Esteem Inventories. 2nd.ed. Californai: Consulting Psychologist Press, Inc. อ้างใน สมิทธิ์ เจือจินดาและคณะ. การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าของตนเองสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชนเขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร, รายงานวิจัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Urbinner. (2565). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์, สืบค้นเมื่อ 28/1/2565, สืบค้นจากhttps://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs#viewer-2hbj4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-17