การกำหนดให้ผู้ก่อความเสียหายโดยละเมิดเป็นผู้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562

ผู้แต่ง

  • อวยพร โสมล -
  • สุมาลี วงษ์วิฑิต
  • ปัญญา สุทธิบดี

คำสำคัญ:

ผู้ก่อความเสียหาย, ทรัพยากรธรรมชาติ, ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์ปัญหาการกำหนดให้ผู้ก่อความเสียหายโดยละเมิดเป็นผู้ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาการมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในแผนการบริหารจัดการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหายโดยละเมิด และปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์การหลุดพ้นจากการรับผิด  โดยการดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหาย โดยนำความหมายของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักวัตถุแห่งหนี้ การหลุดพ้นจากความรับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์

           ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัญหาดังกล่าวทั้งหมดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มโอกาสในการชำระหนี้โดยกำหนดให้ผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง และเพื่อเพิ่มสิทธิทางกฎหมายจึงควรกำหนดให้ผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในแผนการบริหารจัดการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหายโดยละเมิด นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมจึงควรกำหนดให้ผู้ก่อความเสียหายเป็นอันหลุดพ้นจากการรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยการดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสียหายให้แก่รัฐแล้ว

References

กรมควบคุมมลพิษ. (ม.ป.ป.). หนังสือคู่มือการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับความ

เสียหายจากการปนเปื้อนของมลพิษในดินหรือน้ำในดิน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม.

นลินี ทองแถม. (2553). แนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศจากภูเขาสู่ทะเล การฟื้นฟูปะการัง. กรุงเทพมหานคร:

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN).

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2560). กฎหมายสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ประพจน์ คล้ายสุบรรณ. (2550). “แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคดีสิ่งแวดล้อม.”

วารสารวิชาการศาลปกครอง, 7 (2), 28-33.

ปราโมทย์ จารุนิล. (2562). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภูริช วรรธโนรมณ์. (ม.ป.ป.). บทเรียนจากเหมืองแร่ : ความล้มเหลวของรัฐในการแก้ปัญหา “ลำห้วยคลิตี้”.

สืบค้นจาก https://www.seub.or.th/bloging/news/มลพิษลำห้วยคลิตี้

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักกการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: ไทยอนุเคราะห์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. สืบค้นจาก

https://www.krisdika.go.th/law?lawld=4

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562. สืบค้นจาก

https://www.krisdika.go.th/web/guest/law?p_p_id=LawPortlet_INSTANCE_aAN7C2U5h

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นจาก

https://dictionary.orst.go.th/

สุมาลี วงษ์วิทิต. (2565). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้.

(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสภณ รัตนากร. (2553). คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2554). กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิด ทางแห่งการชดเชย

เยียวยา และการระงับข้อพิพาท. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

E. Hey. (2016). Advanced introduction to International Environmental Law. Cheltenham:

Northamton MA.

Howe, Charles W. (1979). Nature resource economics, Issues, Analysis, and policy. New York:

John Wily & Sons, Inc.

Law for the Promotion of Nature Restoration (Law No. 148, December 11, 2002). Retrieved

from http://faolex.fao.org/docs/pdf/jap50709.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-13