แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับแรงจูงใจ 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 177 คน
โดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านนโยบายและการบริหารงาน (= 4.86) ด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน (= 4.75) และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (= 4.72) จากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคล
ที่แตกต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปปรับใช้หรือเป็นข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการหรือวางแผนการพัฒนาองค์กร เพื่อปรับปรุงและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
References
กรัญญา สกุลรักษณ์. (2561). ปัจจัยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านความสามารถ และปัจจัยด้านความสำเร็จ ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร
(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
กรมราชทัณฑ์. (2566). แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ.2566) กรมราชทัณฑ์. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์
ณัฏฐุ์สุมณ ลักษิกาวราสิริ และสุนันทา มูลทา. (2555). Project Assignment Management Guru Professor
Dr. Frederick Herzberg. โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ส.ป.ท) รุ่นที่20, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฏฐิญา บัวรุ่ง. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (สารนิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต). มหาวิทยาลัยศรีประทุม, ปทุมธานี.
ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.
ปรียาพร วงศ์นุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย, ปทุมธานี.
มนูญ สุรินราช. (2563). สภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองบริการ สังกัดกรมแผนที่ทหาร (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ปทุมธานี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2559). องค์การและการจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรินทร วรรธนอารีย์. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของเจ้าหน้าที่ธุรการ สำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สยาม เมฆไว. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองกำกับการตระเวรชายแดนที่ 12 (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
โสภี ขานดาบ. (2559). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรศาลยุติธรรมภาค 4 (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
อภิชัย คุณสุข. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
Best, John W. (1981). Research in Education (4thed.). New Jersey: Prentice Hall.
Mitchell, M., White, L., Oh, P., Alter, D., Leahey, T., Kwan, M., and Faulkner, G. (2017). Uptake
of an Incentive-Based mHealth App: Process Evaluation of the Carrot Rewards
App. JMIR mHealth and uHealth, 5(5), e7323.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.
Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. New York: New York: Harper & Row.