การใช้เทคนิคของ อูทา ฮาเก็น และ รูดอล์ฟ ฟอน ลาบานในการพัฒนาทักษะการแสดงละครสุขนาฎกรรม : กรณีศึกษาตัวละครผู้หญิงในเรื่อง ลาฟฟิ่ง ไวลด์ ของ คริสโตเฟอร์ ดูแรงต์(1987)

ผู้แต่ง

  • ชญาณี วรพงศ์พินิจ -

คำสำคัญ:

การแสดง, ละครสุขนาฏกรรม, การพัฒนาทักษะการแสดง, ลาฟฟิ่ง ไวลด์

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์เทคนิคของ อูทา ฮาเก็น และ รูดอล์ฟ ฟอน ลาบาน เพื่อนำมาใช้พัฒนาทักษะการแสดงละครสุขนาฏกรรมผ่านตัวละครผู้หญิง ในบทละครเรื่อง ลาฟฟิ่ง ไวลด์ (Laughing Wild) เนื่องจากผู้วิจัยยังมีประสบการณ์ด้านการแสดงละครสุขนาฏกรรมไม่มาก ทำให้ประสบปัญหาในการแสดง 2 ประการ คือ 1) มีความเชื่อในแบบตัวละครที่ไม่มากพอ และ 2) มักใช้ร่างกายในรูปแบบเดิม ทำให้ไม่สามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครและถ่ายทอดออกมาได้อย่างเต็มที่ โดยมีสมมติฐานว่าเมื่อนำเทคนิคการแสดงของอูทา ฮาเก็น และรูดอล์ฟ ฟอน ลาบาน มาใช้ในการแสดงละครสุขนาฏกรรมเรื่อง ลาฟฟิ่ง ไวลด์ ผ่านตัวละครผู้หญิงจะทำให้นักแสดงมีความเชื่อในแบบตัวละครมากพอจนสามารถถ่ายทอดตัวละครผ่านร่างกายและสามารถหาพฤติกรรมของตัวละครได้ ผู้วิจัยทดลองนำ 2 เทคนิคนี้มาใช้ในงานวิจัยแบ่งเป็น 3 กระบวนการ คือ 1) วิเคราะห์บทละครและตัวละคร 2) กระบวนการซ้อม และ 3) นำเสนอผลวิจัยผ่านการจัดแสดง โดยเลือกวิธีเก็บผลวิจัย ดังนี้ จดบันทึกการทำงานของผู้วิจัย บันทึกวิดีโอฝึกซ้อมบางช่วง บันทึกวิดีโอวันแสดงจริงแบบสอบถามผู้ชม การประเมินจากผู้กำกับและผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดง ผลการวิจัยพบว่าเทคนิคของฮาเก็นและลาบานเป็นเทคนิคที่ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อนักแสดงสามารถผ่อนคลายและปล่อยวางอันเป็นพื้นฐานของนักแสดงได้แล้ว การฝึกฝนเทคนิคของฮาเก็นจะช่วยทำให้นักแสดงมีความเชื่อในแบบตัวละครที่แข็งแรงมากพอจนนำไปสู่ความต้องการของตัวละครได้และการฝึกฝนเทคนิคของลาบานจะช่วยให้นักแสดงสามารถเชื่อมโยงความรู้สึกภายในของตัวละครกับการเคลื่อนไหวร่างกายภายนอกให้เป็นหนึ่งเดียวกันจนสามารถถ่ายทอดพฤติกรรมของตัวละครได้

References

ณัฐพล ปัญญโสภณ. (2552). การแสดง = Acting (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นพมาส แววหงส์. (บ.ก.). (2565).ปริทัศน์ศิลปการละคร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ดำรุง. (2564). วิจัยการแสดง : สร้างความรู้ใหม่ด้วยการทำละคร. นนทบุรี : บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.

มัทนี รัตนิน. (2565). ศิลปะการแสดงละคร (Acting): หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสฎฐวุฒิ จันทร์เพ็ญสุข. (2560). กระบวนการฝึกซ้อมนักแสดงละครใบ้เพื่อแก้ไขปัญหานักแสดงขาดความจริง ภายใน (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adrian, B. (2008). Actor training the Laban way: an integrated approach to voice, speech, and movement. New York: Allworth Press.

Alex Ates. (2023). The Definitive Guide to Uta Hagen’s Acting Technique. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566, https://www.backstage.com/magazine/article/the-definitive-guide-to- uta-hagens-acting-technique-68922/

Bloom, K., Adrian, B., Casciero, T., Mizenko, J., & Porter, C. (2018). The Laban workbook for actors: A practical training guide with video. Bloomsbury Publishing Plc.

Hagen, U. (1973). Respect for Acting. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Hagen, U. (1991). Challenge for the Actor. Simon and Schuster.

Olsen, C. (Ed.). (2016). Acting comedy. Abingdon: Routledge.

Robinson, Davis R. (1999). The physical comedy handbook.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-23