อิทธิพลของการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟชาวดอยในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รภัสศา นนทวงษ์ Raphassa
  • สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, การตัดสินใจ, ร้านกาแฟชาวดอย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟชาวดอยในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดดิจิทัล ที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟชาวดอยในกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการร้านกาแฟชาวดอยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ                                                         ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟชาวดอยในกรุงเทพมหานครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการตลาดดิจิทัล พบว่า ด้านเว็บไซต์ และด้านการตลาดเชิงเนื้อหา ส่งผลในทางบวกต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟชาวดอย ในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 

References

กมลวรรณ ไพสิฐธัญพงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟสตาร์บัคส์ในอาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15- 2/6114993308.pdf.

จิธญา ตรังคิณีนาถ, นฤมล ลาภธนศิริไพบูลย์, ยลชนก ขวดพุทรา และปาณิศา วิชุพงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภค. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์., 3(1), 42-63

ชลิตา ศรีจอมขวัญ. (2563). อิทธิพลส่วนประสมการตลาดออนไลน์ คุณค่าตราสินค้าส่งผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มร้านกาแฟอเมซอน ในเขตกรุงเทพมหานคร.ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat18/6314060003.pdf.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2562). Digital Marketing 6th Edition : Concept & Case Study (Update2019-2020). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

ธนาภรณ์ ทิมคล้าย. (2564). กระบวนการตัดสินใจใช้บริการร้านกาแฟของประชากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ sun18/6214070123.pdf.

ธนิดา อัศวโยธิน. (2561). การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มณีวรรณ แก้วหาวงศ์. (2564).การตลาดดิจิทัลและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดชุมพร.วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา,10(1), 65-79.

วิศนันท์ อุปรมัย และ ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช. (2565). การปรับตัวด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของร้านขนมไทย หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. วารสารรัชต์ภาคย์. 16(49), 315- 330

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2560).การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุภกร ตันวราวุฒิชัย. (2564). ปัจจัยการตลาดแบบดิจิทัล การโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และความสามารถ

ด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ของผู้บริโภคใน

กรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(22), 23-35.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications

.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-22