การจัดการมูลฝอยติดเชื้อหน้ากากอนามัยใช้แล้วในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
คำสำคัญ:
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, หน้ากากอนามัย, พระราชบัญญัติการสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาแนวคิดการจัดการมูลฝอยติดเชื้อหน้ากากอนามัยใช้แล้ว มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมูลฝอยติดเชื้อ ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563 และการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วในต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อหน้ากากอนามัย ตลอดจนเสนอแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อหน้ากากอนามัยใช้แล้วในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข ผลการวิเคราะห์พบว่าประชาชนไม่สามารถจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้วได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และพระราชบัญญัติการสาธารณสุขมีข้อจำกัดตามนิยามมูลฝอยติดเชื้อ ไม่ได้ให้ความหมายมูลฝอยติดเชื้อหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ไม่ได้เพิ่มหน้ากากอนามัยใช้แล้วในประเภทมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งไม่มีการทิ้ง การคัดแยก การเก็บ ขนส่ง การกำจัดหน้ากากอนามัยใช้แล้ว และไม่มีบทลงโทษผู้ที่ทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในที่สาธารณะ ดังนั้นควรเพิ่มคำนิยาม “มูลฝอยติดเชื้อ” และ “มูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยใช้แล้ว” เพิ่มหมวด“การทิ้ง การคัดแยก เก็บ ขน และการกำจัดของหน้ากากอนามัยใช้แล้ว” และบทลงโทษของประชาชนและเจ้าของที่ทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วตามทางสาธารณะ รวมทั้งควรยกเว้นค่าธรรมเนียมในเก็บและขนหน้ากากอนามัยใช้แล้วเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยก นอกจากนี้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นควรศึกษาแนวทางในการนำหน้ากากอนามัยใช้แล้วมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในชุมชนต่อไป
References
กฎกระทรวง เรื่อง การจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน พ.ศ. 2563
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 –
. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมอนามัย. (2561). เอกสารวิชาการด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวง
สาธารณสุข.
กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2564). (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการ
จัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The
New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เกียรติภูมิ วงศ์รจิต.(น.พ.) (2565).แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรค
โควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
ขวัญจิรา เสนา. (2565). ทัศนคติเกี่ยวกับการใส่หน้ากากอนามัยที่มีผลต่อการสื่อสารระหว่างบุคคล
เปรียบเทียบระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่น. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา, 12 (2), 12-32.
เขมจิรา สายวงศ์เปี้ย. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในจังหวัดลำปาง.
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จันทนา มณีอินทร์. (2556).การจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จารุมนต์ ดิษฐประพัตร์และปภาอร กลิ่นศรีสุข. (2564). ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะ
ติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนบ้านกลาง-ไผ่ขาด จังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 6 (1), มกราคม – มิถุนายน, 37-50.
ตรีรัก กินวงษ์. (2563). พฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ผู้จัดการออนไลน์. (2564). ขยะ “แมสก์” ล้นเมือง อยากจะทิ้งก็ทิ้งก็ได้เหรอ!? [ระบบออนไลน์]
https://mgronline.com/daily/detail/9640000038405 20/11/65, เข้าดูเมื่อวันที่ 24/11/65
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
ภัทรานิษฐ์ ศรีจันทราพันธุ์ และ อำพรรณ ไชยบุญชู. (2564). การศึกษาปริมาณขยะในครัวเรือนช่วง
การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,41(2), เมษายน – มิถุนายน, 1-17.
มัตติกา ยังอยู่. (2559). การกักเก็บ และการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุขใน
เขตบริการสุขภาพที่ 5 ; กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี. ปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รติรส ตะโกพร. (2558). พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัด
ราชบุรี.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศิลปากร
สิทธิชัย มุ่งดี, นันท์นภัส คาแดง, สุทธพงษ์ ขวดแก้ว และนางสาวณัฐรดา สารสุระกิจ. (2563). การจัดการ
หน้ากากอนามัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 พื้นที่.ลำปาง, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง.
สิริวรรณ จันทนจุลกะและคณะ. (2564). การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
ของประเทศไทย.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 44 (3), กรกฎาคม – กันยายน, 115-128.
Chartier, Y., Emmanuel, J., Pieper, Ute., Prüss, A, Rushbrook, P., Stringer, R., Townend, W.,
Wilburn, S., and Zghondi, R. (2014). Safe management of wastes from health-care activities. Switzerland : WHO Press.
Harnpanchakit, B., Supapet, I., Sridaromon, P., Lotaisong, J., Junta, W., and Hemwiwat, T.
(2018). Academic documents infectious waste management for department staff health. Nonthaburi: Department of health.
Limon, M. R., Vallente, J.P.C., Cajigal, A. R.V., Aquino, M.U., Aragon, J.A., and Acosta, R. L
(2022). Unmasking emerging issues in solid waste management: Knowledge and self-
reported practices on the discarded disposable masks during the COVID-19 pandemic in the Philippines. Environmental Challenges, 6, 1-14.
Sarawut Sangkham. (2020). Face mask and medical waste disposal during the novel
COVID-19 pandemic in Asia. Case Studies in Chemical and Environmental Engineering, 2, 1-9.
Veeramani, A.V. (2021). Facemask Usage and Disposal Practices from Safety and
Waste Perspective. Faculty of Engineering, Universiti Malaya, Kuala Lumper.