ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคลในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ผู้แต่ง

  • พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล -

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลในงาน, การบริหารทรัพยากรบุคคล, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคลในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรบุคคล และ3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พร้อมทั้งการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มข้าราชการระดับสูง กลุ่มข้าราชการระดับกลาง และข้าราชการระดับปฏิบัติงาน โดยรวมทั้งสิ้น 20 คน แล้วนำมาหาข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเสนอแนะอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล

           ผลการวิจัยพบว่า 1)ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคลในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการวางแผนบริหารกำลังคน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ จากนโยบาย แผนงานโครงการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด 2)ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารทรัพยากรบุคคล มีผลมาจาก 2.1)ปัญหาความขัดแย้ง 2.2)นโยบายที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มรูปแบบ 2.3)งบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากร 2.4)บุคลากรส่วนใหญ่มีอายุมากในการทำงาน และ2.5)ปัญหาการต่อต้านของบุคลากรจากพฤติกรรม ในการยอมรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ของบุคลากร และ3)แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลในสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยการปรับเปลี่ยนแนวความคิดในเรื่อง “การบริหารจัดการคน” ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร พร้อมทั้งมีกลไกที่ช่วยกำหนดทิศทางที่อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ แนะนำและให้คำปรึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์การและความน่าเชื่อถือ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในส่วนที่ยังขาดหรือเป็นจุดอ่อน เพื่อให้องค์การสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรทุกด้านให้ได้มาตรฐานต่อไป

References

ชนิดา จิตตรุทธะ (2560). ทฤษฎีองค์การ: ปรัชญา กระบวนทัศน์ และแนวคิด, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และวิรัญญา สุทธิกุล. (2565). ค่านิยม 4.0: กลไกขับเคลื่อนการบริหารองค์การภาครัฐแนว ใหม่กับการก้าวสู่ประเทศไทย 4.0. Journal of Modern Learning Development. 7(11), 538-550.

ธิดารัตน์ อริยประเสริฐ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมไทยในยุค เศรษฐกิจพลิกผัน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 30(2). 314-323

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคม.วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. Vol. 16 No. 1 (2021): มกราคม - มิถุนายน 2564

พลอย สืบวิเศษ. (2562). การวิเคราะห์องค์การและการจัดการ วิถีสู่การปฏิบัติสำหรับผู้บริหารทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการปกครองส่วน ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 109-121.

รัตนาพร เลารุจิราลัย เกียรติชัย วีระญาณนนท์ และวรรณสินท์ สัตยานุวัตร. (2561).ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารจัดการ สโมสรโรตารีในประเทศไทย.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 11 (2). 39-50.

สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ Organization and Management, กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20ปี (พ.ศ. 2560 - 2579).

อรุณ รักธรรม และปีเตอร์ รักธรรม. (2560). พฤติกรรมการบริหารองค์การ Administrative Behavior. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Liberal Arts Review, 13(25), 103-118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-14