การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
คำสำคัญ:
การระดมทรัพยากร, ทรัพยากรทางการศึกษา, การจัดการการศึกษา, การบริหารการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และปัจจัยที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และ 2) เสนอรูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ระหว่าง 24 พฤษภาคม – 19 พฤศจิกายน 2561 โดยวิธีการศึกษาเอกสาร และศึกษาภาคสนามในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 โรง การรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือคือ แบบสำรวจ สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ สถานศึกษาละ 9 คน รวม 108 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้น จึงร่างรูปแบบ และตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1) การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ระดับนโยบายมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน ระดับสถานศึกษามีการระดมทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ปัญหาคือ ขาดการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จคือ การวางแผนที่ดี การมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำผู้บริหาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายทรัพยากรตามวัตถุประสงค์ และการติดตามประเมินผลและรายงาน 2) รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาเป็นรูปแบบกลางที่สถานศึกษาต่างๆ สามารถเลือกใช้ได้ตามบริบท ประกอบด้วย แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการระดมทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ประเภททรัพยากรที่ระดม กลยุทธ์ที่ใช้ในการระดม สิ่งที่พึงระวังในการระดม และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
References
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2559). รายงานผลการดำเนินโครงการการจัดการการเรียนรู้แบบเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พิณสุดา สิริธรังศรี, สรรเสริญ สุวรรณ์, พัชราภา ตันติชูเวช, และประสพสุข ฤทธิเดช. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วิษณุ อรรถวานิช. (2561). เส้นยากจน ในการเงินธนาคาร. (ออนไลน์) สืบค้น 30 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.moneyandbanking.co.th/new/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานการวิแคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
OECD. (2013). Education Policy outlook. Australia. Australia: OECD Publishing.
OECD. (2013). PISA 2012 Results: What Makes Schools Successful? Resources, Policies and Practices (Volume IV), PISA. Paris: OECD Publishing.
UNDP. (2016). Sustainable Development Goals – SDGs. Retrieved May 30, 2018, from https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น