การพัฒนาหลักสูตรเสริม เรื่อง วิทยาศาสตร์สุขภาพกับความงามและการชะลอวัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทัสริน โตนุช นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน อาจารย์ประจำ และปริญญาเอก วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ทัศนีย์ ชาติไทย รองศาสตราจารย์ และปริญญาเอก สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรเสริม, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์, วิทยาศาสตร์สุขภาพกับความงามและการชะลอวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริม  เรื่อง วิทยาศาสตร์สุขภาพกับความงามและการชะลอวัย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริม เรื่อง วิทยาศาสตร์สุขภาพกับความงามและการชะลอวัย โดยผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรเสริม แบบประเมินหลักสูตรเสริม หลักสูตรเสริม เรื่อง วิทยาศาสตร์สุขภาพกับความงามและการชะลอวัย แบบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบวัดความคิดสร้างสรรค์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์  เนื้อหา กิจกรรมการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล โครงสร้างเนื้อหา ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้  ได้แก่ งามสมวัยใส่ใจสุขภาพ ร่างกายเข้มแข็งเสริมแรงความงาม ตามรอยสุขภาพกับความงามและการชะลอวัยและผลิตภัณฑ์เลอค่านำพาความ ใช้เวลารวม 28 ชั่วโมง 2) ประสิทธิผลของหลักสูตรเสริม นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรเสริม มีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ หลังการใช้หลักสูตรเสริมสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักสูตรเสริม อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ไกรยส ภัทราวาท. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0.หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. พฤหัสบดีที่ 13 ต.ค.59 .

จันทิมา เมยประโคน. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาศิลปะ เรื่องการสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) สําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู (ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษายุคศตวรรษที่ 21. สืบค้น 20 พ.ค.59, จากข่าวสำนักงานรัฐมนตรี.แผนการศึกษาแห่งชาติ. (2560).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์,

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 1-12.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจำกระบวนการเรียนรู้ QUALITY OF STUDENTS DERIVED FROM ACTIVE LEARNING PROCESS. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1–13. สืบค้น 20 มิ.ย. 2559 จาก https://library.surat.psu.ac.th/research

สมพร หลิมเจริญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล สู่ Thailand 4.0. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่สู่ประชาคมอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: พริ้นติ้ง.

สุนารีย์ เก่งวาณิชย์. (2558). ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แรงเสียดทาน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อดุล นาคะโร. (2551). ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการจัดการตนเอง โดยใช้กิจกรรมแนะแนวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อธิป อัศวานันท์. (2560). เกมส์คืออุตสาหกรรมคอนเทนใหญ่ที่สุดในโลก

Bloom, Benjamin S. (2001). Taxonomy of educational objectives book 1: cognitive domain. London: Longman Group Limited.

Colongelo, & Davis. (2003). Handbook of gifted education. Boston: Pearson Education.Colvin.

Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill Book.

Perkins, D. N., Lochhead, Jack, & Bishep. (1978). Thinking: The second international conference. NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Taba. H. (1962) Curriculum development: Theory and practice. New York, NY: Harcount, Brace & World.

Taylor, C. W. (1949). The nature of the creative process. NY: Hasting House.

Weir, J. J. (1974). Problem solving every body’s problem. The Science Teacher, 4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21