คุณลักษณะส่วนบุคคลและการยอบรับเทคโนโลยีที่มีต่อการชำระเงินผ่านระบบ QR Code ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ คุ้มถิ่นแก้ว หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การชำระเงิน, คิวอาร์โค้ด, การยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีต่อความคิดเห็นต่อการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ    3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีต่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กับความคิดเห็นการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากตัวอย่างที่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเคยชำระเงินผ่านระบบ QR Code จำนวน 385 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้เทคนิค Independent Sample t-test, One-way ANOVA และ Pearson Correlation ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครมีระดับความคิดเห็นต่อการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นด้านประโยชน์ สูงกว่าด้านการใช้งาน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ อาชีพ วุฒิการศึกษา และสถานภาพสมรส ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการชำระเงินผ่านระบบอาร์โค้ด (QR Code) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า การยอมรับเทคโนโลยีต่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก

References

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนาคารออมสิน. (2561). มารู้จักกับ QR CODE ให้มากขึ้นกันดีกว่า. สืบค้น 6 ตุลาคม 2561, จาก https://www.gsb.or.th/Blogs/Financial/GSBPAYQRCode.aspx

นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม. (2553). อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยพร อรุณเกรียงไกร. (2560). QR Code ยกระดับประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด. สืบค้น 6 ตุลาคม 2561, จาก https://themomentum.co/qr-code-cashless-thailand/

วิรไท สันติประภพ, ธนา เธียรอัจฉริยะ, และศิริจันทร์ สมภาร. (2559). คิวอาร์โค้ด สังคมไร้เงินสด. สืบค้น 19 กันยายน 2561, จากhttps://www.bltbangkok.com/article/info/8/394

ศนิ อนันต์รัตนโชติ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านระบบเว็บไซต์ (Web Payment) ของผู้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภรานันท์ กาญจนกุล. (2560). พฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการรับชม Live Video Streaming (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน. (ม.ป.ป.). บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/payment/Pages/payment.aspx

สยุมพร พึ่งวาส. (2554). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการ 3G Plus ของเครือข่ายทรูมูฟ เอช ในเขตกรุงเทมหานคร (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานผลการสำรวจ พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2558 Thailand Internet User Profile 2015. สืบค้น 2 ตุลาคม 2561, จาก https://www.etda.or.th/publishingdetail/thailand-internet-user-profile-2015.html

สุริพงษ์ ตันติยานนท์, และธิดา บุณยเลขา (2561). กรุงเทพฯ กำลังก้าวไปสู่ระบบดิจิทัล. สืบค้น 19 กันยายน 2561, จาก https://www.bltbangkok.com/article/info/8/570

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techiques (3d ed). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24